ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอันหนักหน่วงในกลางทศวรรษที่
1980
ได้นำไปสู่การประกาศนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในระหว่างการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่
6 ในเดือนธันวาคม 1986
ในช่วงเวลามากกว่า 20 ปีที่ผ่านมา
นโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจได้นำไปสู่การเปิดประเทศ
และการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงในเวียดนาม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม
ในเวลาต่อมา
การผสมผสานระบบเศรษฐกิจการตลาดเข้ากับระบบสังคมนิยมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เช่นเดียวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากนอกประเทศที่แพร่เข้ามาในประเทศเวียดนามกับการเปิดประเทศ
กระแสทุนนิยมที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน
ความเป็นทุนนิยมที่ถูกผสมผสานในระบบเศรษฐกิจและในสังคมเวียดนามมีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชาวเวียดนามเปลี่ยนแปลงไป
เห็นได้จากสภาพทางกายภาพของบ้านเมือง บ้านช่องที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง
ระบบโครงสร้างพื้นฐาน วิธีการใช้ชีวิตของชาวเวียดนาม การบริโภค อย่างไรก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ
โครงการอินโดจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จึงได้จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง
เส้นทาง
โด่ยเหมย ของเวียดนาม :
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิชาการที่ใช้เวลาการทำวิจัยในประเทศเวียดนามเป็นเวลานาน
กำหนดการ
09.00
09.10 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการ
โดย
รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ชคตระการ
ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
09.10
12.00 น. เสวนาทางวิชาการ
เรื่อง
เส้นทาง
โด่ยเหมย ของเวียดนาม :
การเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม
โดย
รองศาสตราจารย์ พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล
นักวิชาการอิสระ
ดร.ธัญญาทิพย์
ศรีพนา
ประธานโครงการอินโดจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เชียวชาญด้านเวียดนามศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการและนักเขียนอิสระ
ผู้ดำเนินรายการ อ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์