ชื่อโครงการวิจัย
การเลือกตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ :
ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ผู้วิจัย
รองศาสตราจารย์สีดา สอนศรี คณะรัฐศาสตร์ มธ.
ปีที่ได้รับทุน
2545
แหล่งทุน
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย
เรื่อง การเลือกตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นี้เน้นเฉพาะการเลือกตั้งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและไทย
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของแต่ละประเทศก่อนมีการเลือกตั้ง
วันเลือกตั้งและหลังจากการเลือกตั้ง
ตั้งแต่ประเทศเหล่านี้ได้จัดการเลือกตั้ง ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากผู้วิจัยต้องการที่จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของการเลือกตั้งของแต่ละประเทศ
การวิจัยนี้จึงแบ่งออกเป็นการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ
ซึ่งได้เสนอกรอบการวิเคราะห์ วัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละประเทศ
การพัฒนาการของการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้ง
องค์กรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการเลือกตั้ง ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ
องค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่ทำงานร่วมกับองค์กรของรัฐจะช่วยพัฒนาคุณภาพและความโปร่งใสของการเลือกตั้ง
ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและยอมรับผลการเลือกตั้งมากขึ้น
นอกจากนี้การตรวจสอบการเลือกตั้งจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนพัฒนากิจกรรมต่างๆ
ร่วมกับรัฐซึ่งจะช่วยเปลี่ยนวิถีทางของประชาชน
ได้ประเมินความสัมพันธ์ต่อรัฐและการมีส่วนร่วมในทางการเมือง
กล่าวโดยสรุป
การเลือกตั้งในทุกประเทศล้วนแล้วแต่มีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่งมีผลต่อการเลือกตั้งในแต่ละครั้งมาก การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็ยังปรากฎอยู่ไม่มากก็น้อย
นอกจากกรอบเนื้อหาที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว
แต่ละประเทศจะมีคำถามในการศึกษาว่า
อะไรเป็นเนื้อหาที่สำคัญของการปฏิบัติการเลือกตั้ง
มีพรรคการเมืองใดบ้างที่เป็นคู่แข่งขัน
อะไรเป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงเลือกตั้ง
พฤติกรรมและการปฏิบัติการต่างๆ ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งเป็นอย่างไร
และผลของการเลือกตั้งเป็นอย่างไร
การวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อการเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับการเลือกตั้งอีกเล่มหนึ่ง
โดยเฉพาะศึกษาทั้ง 4
ประเทศที่รวมอยู่ในเล่มเดียวกัน ซึ่งง่ายต่อการศึกษาเปรียบเทียบต่อไป
และยังไม่มีผู้ใดทำงานวิจัยในลักษณะนี้มาก่อน
นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผู้สนใจในประเทศเหล่านี้
Abstract
This study which
focuses on the elections of Indonesia, the Philippines, Malaysia and
Thailand demonstrates the variety in these countries political life
because it chronicles the pre-election phase, election day high
lights and the post-election phase of the first elections up to the
present. As an attempt to describe the dynamics of the elections
since the first elections of these countries which analysis by
specialist of each country, it will be provided on framework of
analysis, political culture, development of elections, processes of
elections, commission on Elections, watchdogs organizations, and
problems encounter in elections. More importantly, civic
organizations help to improve the quality and transparency of
electoral processes, which produces greater public confidence in
elections and increases the chances that all sides will accept
election result. In addition, election monitoring motivates citizen
view their relationship to and participation in politics and
governance. For conclusion, in all countries, patron-client still
influences in elections. More or less vote buying still influences
in elections. More or less vote buying still influences in election
results.
Each researcher of
each country will ask the following elections : what was the context
of the exercise?, what were the parties of contenders?, what were
the main election issues?. How was the election conducted? and what
were the results?.
This study serves as
a valuable addition to the book on elections and useful for students
and those who are interested in elections of these four countries.
|