|
ชื่อโครงการวิจัย ผลกระทบจากความปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ต่อความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ผู้วิจัย
นายวิเชียร อินทะสี
ปีที่ได้รับทุน
2545
แหล่งทุน สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากความปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่อความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นับตั้งแต่สงครามเกาหลีสงบลงตั้งแต่ ค.ศ.
1953 เป็นต้นมา
เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีการเจรจาและบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือ
การแลกเปลี่ยนและรวมถึงหลักการในการรวมประเทศ ดังความตกลงที่กระทำเมื่อ
ค.ศ. 1972 และ
1992 แต่อย่างไรก็ตาม
บรรดาเจตนารมณ์และสาระสำคัญของความตกลงดังกล่าว
กลับไม่ได้รับการผูกมัดและนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะในฝ่ายของเกาหลีเหนือ ดังนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีจึงอยู่ในลักษณะตึงเครียดตลอดมา
แต่จากเหตุการณ์ที่ผู้นำเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ประชุมร่วมกันเมื่อเดือนมิถุนายน
ค.ศ. 2000
และมีแถลงการณ์ร่วมถึงแนวทางในการรวมประเทศ
ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนกันทางเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งภายหลังจากการประชุมครั้งนี้แล้ว
ก็ได้มีสิ่งบ่งชี้หลายประการว่าเกาหลีทั้งสองกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงแห่งการสร้างความปรองดองระหว่างกัน
ถึงแม้จะอยู่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม
แต่ถ้าหากสภาพความปรองดองระหว่างสองเกาหลียังคงดำเนินอยู่ต่อไป
ผลในทางบวกที่จะเกิดขึ้นต่อสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคก็คือ
บรรยากาศแห่งความปรองดองระหว่าเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง
ซึ่งจะเป็นประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอื่นๆ ต่อไป
โดยเฉพาะการจัดทำสนธิสัญญาสันติภาพเพื่อใช้แทนความตกลงสงบศึก
เมื่อเหตุการณ์ได้คลี่คลายมาถึงขั้นนี้แล้ว
ก็เท่ากับว่าเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างกัน
การเจรจาเพื่อลดกำลังทหารระหว่างสองเกาหลีก็จะเกิดขึ้นตามมา
การพิจารณาถึงสถานะของกองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาในเกาหลีใต้
เหตุผลหรือความจำเป็นของสหรัฐอเมริกาที่จะนำระบบป้องกันขีปนาวุธเข้ามาติดตั้งในภูมิภาคก็จะลดลงไป
ซึ่งในการเจรจานี้จะเกิดขึ้นทั้งในรูปทวิภาคีคือ
ระหว่างเกาหลีทั้งสองด้วยกันเอง
และพหุภาคีซึ่งมีประเทศมหาอำนาจที่มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วม
ซึ่งก็จะเป็นผลให้การแข่งขันกันสร้างแสนยานุภาพทางทหารในภูมิภาคลดลง
นอกจากนี้ประเด็นความขัดแย้งด้านอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐอเมริกา
ก็น่าจะมีข้อยุติก่อนที่จะมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ
เพื่อเลิกสถานการเป็นคู่กรณีของสงครามเกาหลี
Abstract
The purpose of this
research is to study the impact of inter-Korean reconciliation on
East Asian security. The study found that in 1972 and 1992 North
Korea and South Korea were able to reach agreement on exchange,
co-operation, and some principles how to reunify their countries
since the Korean War ended with armistice. However, the agreement
is not committed and implemented by the both sides, especially North
Korea. Therefore, the relations between them are nearly in the
state of tension. But inter-Korean summit held in June 2000, both
leaders signed a declaration to joint efforts to resolve the
question of reunification, to promote economic co-operation, and
exchanges in cultural, civic, public health, and all other fields.
And after the summit, there are a number of questions between them
to be raised and discussed, and some kinds of co-operated projects
are being put into effect. These are deemed that both countries are
in the time of reconciliation even though it is a slow process.
In case of the two
Koreas remain reconciliation, it will contribute to defuse tension
both in the Korean Peninsula and East Asian Region. The committees
or bodies, established for supervising or facilitating the June 15th
Declaration in to practice, will raise some political issues to be
discussed when the two sides have mutual trust. The long-awaiting
peace treaty that formally symbolizes the and of the Korean War will
be signed by the countries taking part in the war in appropriate
time. This development will help to facilitate the negotiations of
following topics; arms reduction in the Korean Peninsula, the North
Korean nuclear program, the missile development of North Korea, the
U.S. Forces in South Korea, and the Theater Missile Defense (TMD) of
the United States and its allies. These talks will require major
powers which play great roles in the region to participate. The
result of negotiations, although it may consume much more time to
reach an agreement, it will bring peace and stability to the region.
|
|