English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   

 

ชื่อโครงการวิจัย                      การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

ผู้วิจัย                                     รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์   เทพชาตรี

ปีที่ได้รับทุน                           2545

แหล่งทุน                                สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

บทคัดย่อ

 

                         งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ถึงทางเลือกและรูปแบบต่าง ๆ ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยพยายามที่จะวิเคราะห์ถึงทางเลือกที่น่าจะให้ประโยชน์ต่อไทยมากที่สุด และเสนอแนะแนวทางการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่มีความน่าจะเป็นไปได้ และจะเป็นประโยชน์ต่อไทยมากที่สุด

                         สำหรับทางเลือกที่ 1 คือ กรอบการประชุมเอเปค อาจสรุปได้ว่าเอเปคนั้น ถูกอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกคือ สหรัฐฯครอบงำมาโดยตลอด ปัญหาสำคัญของเอเปค คือ การขาด Identity นำไปสู่การขาดวัตถุประสงค์ร่วมกัน ไม่รู้ว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดของเอเปคจะพัฒนาไปเป็นอะไร เอเปคจึงกลายเป็นเวทีที่อาจจะใหญ่เกินไป สำหรับทางเลือกที่ 2 คือ กรอบการประชุม Asia Cooperation Dialogue หรือ ACD ซึ่งก็มีปัญหาหลายเรื่องด้วยกัน ในการที่จะพัฒนาให้เป็นกรอบที่มีความหมายในอนาคต โดยเฉพาะการขาดการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เวที ACD อาจจะเหมือนเอเปค ที่ใหญ่เกินไปที่จะมีบทบาทที่มีความหมาย จริง ๆ แล้วไทยเราน่าจะพัฒนากรอบความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว คือ อาเซียน+3 ให้กระชับแน่นแฟ้นเสียก่อน เอาอาเซียนเป็นแกน แล้วค่อยหว่านล้อมให้อาเซียนเห็นด้วยกับข้อเสนอ ACD ทำให้เป็นข้อเสนอของอาเซียน แล้วค่อนขยายอาเซียน+3 ออกไป สำหรับทางเลือกที่ คือ การจัดทำเขตการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างประเทศต่าง ๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า เขตการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างประเทศต่าง ๆ ในที่สุดจะขยายตัวเป็นเครือข่ายของเขตการค้าเสรีไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย แต่ผู้วิจัยมีความเห็นว่า สมมติฐานดังกล่าวคงเป็นไปได้ยาก

                         ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า ทางเลือกที่ 4 คือ กรอบการประชุมอาเซียน+3 น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และเป็นไปได้มากที่สุด โดยไทยน่าจะมีนโยบายในเชิงรุก และเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการของการพัฒนากรอบความร่วมมืออาเซียน+3 นี้

                         ฝ่ายไทยควรจะดำเนินยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า ยุทธศาสตร์หลายช่องทาง (multi-track strategy) เข้าไปมีส่วนร่วมในกรอบเวทีต่าง ๆ พร้อม ๆ กันไปได้ แต่ประเด็นสำคัญก็คือว่า จะต้อง     มีการจัดลำดับความสำคัญของเวทีเหล่านี้ โดยผู้วิจัยเห็นว่า ฝ่ายไทยควรจัดลำดับความสำคัญดังนี้  1) อาเซียน+3   2)เขตการค้าเสรีทวิภาคี   3) ACD   4) เอเปค

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th