โครงการวิจัยประจำปี
2544
ชื่อโครงการวิจัย
การศึกษาการปรับเปลี่ยนเป็นสังคมผู้ผลิตในบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงผ่านการสร้าง
เส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมระหว่างพม่า ไทย ลาว
และเวียดนาม
ผู้ทำวิจัย
รองศาสตราจารย์ไว จามรมาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ.
นายสุทิน
สายสงวน และนางภาณี รูปสม
จำนวนหน้า
231
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัย เรื่อง
การปรับเปลี่ยนเป็นสังคมผู้ผลิตในบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมระหว่างพม่า
ไทย ลาว และเวียดนาม
มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและประเมินศักยภาพของสังคมและชุมชน
บนเส้นทางเศรษฐกิจเชื่อมสายตะวันตก-ตะวันออก
ที่ผ่านจังหวัดตาก พิษณุโลก ขอนแก่น สุโขทัย กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร
และทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ
ที่จะส่งผลต่อแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจของเส้นทางคมนาคมนี้
งานวิจัยนี้ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิต
การค้าและการลงทุน โดยประเมินสภาพแวดล้อม
และทางเลือกที่เป็นไปได้ในการจะพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจนี้
ให้สามารถแบ่งงานตามความถนัด และเหมาะสมกับทรัพยากรของแต่ละประเทศ
ข้อมูลในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลด้านสภาพภูมิศาสตร์การเมืองของพม่า ไทย
ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
นโยบายเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนของประเทศบนเส้นทางเศรษฐกิจนี้
ตลอดจนพื้นฐานสังคมและเศรษฐกิจของจังหวัดในประเทศไทย
ประกอบกับสถานภาพการแบ่งงานภายในและระหว่างประเทศ
โดยใช้ข้อมูลการค้าชายแดนและการส่งออกผ่านการลงทุนระหว่างประเทศ
จากสภาพการแข่งขันใหม่ของเอเชียและการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนส่งผลเป็นเงื่อนไขการกำหนดรูปแบบของเขตเศรษฐกิจบนเส้นทางคมนาคมนี้
ในการที่จะเลือกรูปแบบและโครงสร้างอุตสาหกรรมกลยุทธ์ที่เหมาะสม
ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ และอิเล็กทรอนิกส์
ต่างมีระดับของเทคโนโลยีที่จำเป็นในการแข่งขันระหว่างประเทศ
การลงทุนจึงถูกกำหนดด้วยระดับเทคโนโลยีมากกว่าค่าจ้างแรงงานที่ถูก
นอกจากนั้น ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็น
increasing returns หรือ non-diminishing
returns โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เพื่อเป็นแรงผลักดันด้านเทคโนโลยีและก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
โดยใช้แนวคิดของการเติบโตจากภายใน (endogenous growth theory)
นอกจากนั้นยังจะต้องมีความคิดชัดเจนในเรื่องการกำหนดอุตสาหกรรมเฉพาะทางในสินค้าจำเพาะ
ที่มี Multipiier
ระหว่างความเจริญสูงความเจริญสองขั้ว
ที่จะส่งสินค้าออกไปยังมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก
โดยในระหว่างสองขั้วของการส่งออกจะประกอบด้วย Industrial
Cluster ที่มีความประหยัดจากเศรษฐกิจภายนอก
(collective external economies)
โดยที่จะต้องตระหนักถึงการบริหารความได้เปรียบของการแข่งขันในแนวตั้งของโครงสร้างองค์ประกอบ
Diamond diagram
ที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนและชักนำพฤติกรรมธุรกิจ
ให้ปรับตัวและพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะทาง
|