ปีงบประมาณ
2539
ชื่อโครงการวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในประเทศไทย
และประเทศเกาหลี
ชื่อผู้ทำวิจัย
รศ.วันทนีย์
วาสิกะสิน
จำนวนหน้า
53 หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในประเทศไทยและประเทศเกาหลี
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณา
เป็นการศึกษาวิจัยเฉพาะประเด็นการทำร้ายร่างกายและการทำร้ายทางเพศ
ที่สามีกระทำต่อภรรยา
และพ่อแม่กระทำต่อลูกเพื่อเสนอสถานการณ์ปัญหาของทั้งสองประเทศ
และวิธีการแก้ไขปัญหา และการให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน
ตลอดจนการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากผลการศึกษา พบว่า
ทั้งประเทศไทยและประเทศเกาหลีประสบกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน
และสาเหตุของการเกิดปัญหามาจากโครงสร้างทางวัฒนธรรมและสังคม
ที่ให้คุณค่าของความเป็น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับบริบททางวัฒนธรรมและสังคม
การศึกษาการให้บริการของหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนของทั้งสองประเทศ
มีการให้บริการที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่
การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
การให้ที่พักอาศัย การฝึกอาชีพ การให้การสงเคราะห์ในด้านต่างๆ
ที่จะทำให้ผู้ถูกทำร้ายสามารถช่วยเหลือตนเองได้
ประเด็นของความแตกต่างจะขึ้นกับการดำเนินงานของรัฐบาลของทั้งสองประเทศ
ว่าจะให้ความสำคัญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนี้มากน้อยเพียงใด
ข้อเสนอแนะสำหรับการป้องกัน แก้ไขปัญหาก็คือ
การขจัดรากเหง้าของความเชื่อในเรื่องความไม่เสมอภาคระหว่างชายและหญิง
เน้นการศึกษาให้ผู้หญิงสามารถช่วยตัวเองได้
รณรงค์ให้สื่อมวลชนเข้ามามีบทบาทในการ แก้ไขปัญหา
ภาครัฐต้องให้ความสำคัญและปรับปรุงด้านสวัสดิการ การสังคมสงเคราะห์
การศึกษา
การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขจัดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น
ABSTRACT
This comparative research between Thailand and Korea on
family violence is a descriptive study of some specific issues:
physical abuse and sexual abuse by husbands towards their wives, and
parents towards their children. The study aimed to present the real
siluation of both countries, methods of interventions, services
providing by the Governmental Organisations and Non-Governmental
Organisations and recommendations relating to the studys outcomes.
The study found that domestic violence issues in both countries is
quite critical. The contributing factors are the cultural and
social structures which value men more than women, and personal
factors related to the cultural and social context. The study on
the services of Gos and NGOs in both countries found similar
services: counselling on violence issues and legal issues, shelter,
occupational training, and other welfare service to the victims in
order to be self-reliant. The difference of the governments
intervention depends on the priority the governments give to family
violence issues. The recommendations for prevention and
intervention are to eliminate the root cause of the belief in
genders inequality, public education to foster appropriate vision
on the equal importance of men and women. Governments must
prioritize and improve their services on the welfare, social work,
education and legislation related to the elimination of family
violence.
|