English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   

 

ปีงบประมาณ 2540

 

ชื่อโครงการวิจัย              การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในงานบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน

ผู้ทำวิจัย                        ประไพพรรณ  จารุทวี ,สุกัญญา  มกุฏอรฤดี,จุรีรัตน์  ผ่องแผ้ว   ภารดี  รัตนอุดม,ชูมาน  ถิรกิจ

จำนวนหน้า                    212 หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

            การวิจัยเรื่องการศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้กับงานบริการห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนแนวทางในการร่วมมือด้านงานบริการระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย และเพื่อศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงข่ายงานระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยของกลุ่มประเทศอาเซียน (ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมคือแบบสอบถาม ซึ่งส่งให้แต่ละห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ จำนวน 160 ชุด ได้รับคืนทั้งสิ้น 111 ชุด คิดเป็นร้อยละ 69.4 ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการหาค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC

            ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปของห้องสมุดมีสถานภาพเป็นห้องสมุดหนึ่งในระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัย และเป็นห้องสมุดไม่สังกัดคณะ สำนัก สถาบัน ใช้ระบบการจัดหมู่ Library of Congress มากที่สุด และใช้การจัดหมู่ Dewey Decimal Classification เป็นลำดับถัดมา

            ด้านการใช้เทคโนโลยีห้องสมุด มีการใช้คอมพิวเตอร์แบบ PC มากที่สุด มีการเลือกใช้ระบบ SOFTWARE สำเร็จรูประบบบูรณาการ โดยเลือกใช้ module ระบบการสืบค้น OPAC ระบบยืม – คืน และระบบจัดหา มีการใช้ user license โดยใช้ staff user มากที่สุด และใช้ OPAC user มากเป็นระดับรอง

            ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบเครือข่ายภายในเครือข่ายในมหาวิทยาลัย และเครือข่ายทั่วโลกมากตามลำดับ ในด้านความร่วมมือ มีการร่วมมือด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับต่างประเทศในด้านข่ายงานแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะด้าน แลกเปลี่ยนข้อมูลทุกประเภทที่มีอยู่ในห้องสมุด และแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านเทคโนโลยีห้องสมุด ตามลำดับ

            การบริหารงานเทคโนโลยี มีฝ่ายเหนือหรือแผนกในห้องสมุดดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีโดยตรงมากที่สุด ส่วนในด้านงบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยีห้องสมุดปรากฏว่ามีงบประมาณไม่เพียงพอ และได้รับงบประมาณต่ำกว่า 10% ของงบประมาณทั้งหมดเป็นลำดับสูงสุด

            การบริการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลประเภทต่าง ๆ ได้รับความนิยมสูงสุดและมีบริการจัดทำคู่มือช่วยค้น บริการยืมคืน ได้รับความนิยมรองลงมาตามลำดับ โดยมีฐานข้อมูลบรรณานุกรมสารนิเทศของห้องสมุดให้บริการมากที่สุด ฐานข้อมูลซีดี-รอม และฐานข้อมูลเฉพาะเรื่องได้รับความนิยมในลำดับต่อมา ส่วนใหญ่ห้องสมุดต่าง ๆ ยังไม่สามารถบริการหน่วยงานภายนอกได้

            ลักษณะการใช้บริการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุด ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองมากที่สุด ลำดับรองลงมาคือ ผู้ใช้กับรรณารักษ์สืบค้นข้อมูลร่วมกัน การบริการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานข้อมูลเฉพาะเรื่องที่จัดทำขึ้นเองเป็นบริการที่ผู้ใช้ไม่เสียค่าบริการ ในขณะที่การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ในประเทศเป็นบริการที่ต้องเสียค่าบริการ

            ด้านโครงการพัฒนาเทคโนโลยีห้องสมุดในอนาคต มีโครงการเชื่อมโยงเป็นข่ายงานกับห้องสมุดทุกมุมโลกมากที่สุด โครงการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้ก้าวไปสู่รูปแบบของห้องสมุดเสมือน และโครงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในระดับประเทศและต่างประเทศ เป็นโครงการที่ได้รับความสนใจตามลำดับ

 

ABSTRACT

 

            The purposes of this paper are: to study the development of information technology used in public services of academic libraries in ASEAN countries to determine problems and obstacles as well as the possibilities in forming public service co-operation and ASEAN academic library networking.  Questionnaires are distributed to 160 government owned academic libraries in ASEAN countries, (Thai, Singapore, Malaysia, Indonesia, Philippines, Vietnam, Brunei Darusalam) 111 (69.4%) questionnaires are returned.  The statistical analysis is done by using the SPSS/PC program

            The results of the study show that most libraries are under the university library system not the libraries of faculties or institutions.  Most use the Library of Congress Classification and the Dewey Decimal Classification respectively.

            Information technology used are: PC; integrated library system software; modules used are acquisition, OPAC and circulation; user license are mostly staff user and OPAC user respectively.

            Network systems used are: local area network, campus network, and global network. Cooperation in IT abroad are : sharing of specific information/resources, sharing of all information/resources, and exchange/staff development program respectively.

            For management of IT : most libraries have a unit fully responsible for the job.  The budget allocated for technology development is not adequate and less than 10% of the annual budget.

            The IT for public services highly used are respectively as follows: databases searching, compiling of index and bibliography, circulation.  Databases mostly used are library’s inhouse bases, CD-ROM commercial  bases, specific subject bases. Most are not accessible to outsiders.

            Types of services are mostly self-help and librarian assisted. Users do not have to pay for the use of library’s inhouse databases, whereas there is a fee for online national bases.

            Development plans for the use of IT are to become a part of World Wide Network, to develop into virtual library and to exchange IT experts with other countries respectively.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th