ปีงบประมาณ 2540
ชื่อโครงการวิจัย
การลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในประเทศไทย
ผู้ทำวิจัย
ผศ.นิรมล สุธรรมกิจ
ปีที่แล้วเสร็จ 2547 จำนวนหน้า
324 หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
เนื่องจากการศึกษาบทบาทการลงทุนของออสเตรเลียในไทยมีค่อนข้างน้อย
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมและบทบาทของการลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในไทย
โดยคาดว่าผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่ภาครัฐบาลและเอกชนการกำหนดนโยบายต่อไปในอนาคต
การศึกษานี้ใช้กรอบการวิเคราะห์จากทฤษฎีการพึ่งพิงการลงทุนและความช่วยเหลือจากต่างประเทศกับการวัดระดับความเข้มข้นด้านการลงทุน
ตลอดจนการวิเคราะห์ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงของชาวต่างชาติโดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก
การลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในไทยส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็ก
(<50
ล้านบาทต่อโครงการ) ส่วนใหญ่ลงทุนในสาขาหัตถอุตสาหกรรม สาขาการค้า
และสาขาบริการ การลงทุน ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุน โดยที่ 80%
เป็นการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีและพลังงาน สิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมการเกษตร แปรรูปโลหะ การขนส่ง และการให้บริการที่ปรึกษา
วัตถุประสงค์ของการเข้ามาลงทุนในไทยช่วงแรก (ค.ศ.1960-83)
เน้นการผลิตเพื่อตอบสนองตลาดภายในประเทศ ต่อมาช่วงหลัง (ค.ศ.1990-98)
เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก
ปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในไทย
ประกอบด้วยการขยายตัวของตลาดภายใน การเข้าถึงทรัพยากรแร่ธาตุ
การขยายตัวทางการค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวการส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรม
และการขยายตัวการนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย
(โดยเฉพาะสินค้าประเภทวัตถุดิบและสินค้าทุน) ส่วนปัจจัยผลักดันได้แก่
ธุรกิจภายในออสเตรเลียถึงจุดอิ่มตัว ค่าเงินออสเตรเลียแข็งขึ้น
ออสเตรเลียมีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีและข้อจำกัดด้านกฎหมายในการขยายกิจการภายในออสเตรเลีย
การลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในไทย
มักเป็นการผลิตที่ใช้แรงงานไม่มากนักเมื่อเทียบกับการลงทุนของชาติอื่นๆ
ยกเว้นการลงทุนของออสเตรเลียในสาขาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและในสาขาบริการที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น
จากข้อมูลของกรมทะเบียนการค้าพบว่าบริษัทออสเตรเลียบางบริษัทสร้างรายได้ในรูปของเงินเดือน
27.7%
ค่าเช่า 35.8% ดอกเบี้ย 3.7 %
และกำไรก่อนเสียภาษี 32.8%
นอกจากนี้การลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในไทยยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการขาดดุลการค้าของไทยกับออสเตรเลียการลงทุน
การลงทุนโดยตรงของออสเตรเลียในไทยในสาขาหัตถอุตสาหกรรมและสาขาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมักก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบภายในประเทศเพิ่มขึ้น
และก่อให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น
ส่วนการลงทุนในสาขาสถาบันการเงินและอสังหาริมทรัพย์อาจก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรภายในประเทศไม่มากนัก
แต่อาจก่อให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น
นอกจากนี้การลงทุนในสาขาบริการอาจก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีน้อยกว่าการลงทุนในสาขาหัตถอุตสาหกรรม
Abstract
Because of a few study
of Australian investment in Thailand, this paper aims to study the
aggregate and the role of Australian direct investment in Thailand.
The benefiticials of this study can be provided both to public and
private sectors. The analyses of this paper mainly are the foreign
direct investment and foreign aid dependency hypothesis, the
measurement of investment intensity, and the impacts of foreign
direct investment. The quantitative method is mainly used for these
analyses.
Most of Australian
Direct Investment in Thailand are small projects (<50 million baht
per project). Most of them invested in manufacturing, trade and
service sectors. Almost of these investment are joint venture, 80%
are in telecommunication, technology and energy, environment,
agro-industry, metal processing, transportation and consulting
businesses.
The aim of Australian
Direct Investment in Thailand in the period of 1960 and 1983 mainly
was to serve Thai domestic market. Since 1990, the aim of the
Australian Direct Investment in Thailand has been changed to serving
export demand.
The pull factors of
Australian Direct Investment in Thailand are the expansion of Thai
domestic market, the access to Thai natural resources, the Thai
foreign trade expansion, the Thai manufactured export expansion, and
the expansion of Thai import from Australia (especially materials
and capital goods). The push factors of these investment are the
maturity of Australian domestic market, the appreciation of
Australian currency, the access to technology comparative advantage,
and the limitation of business expansion due to Australian
regulations.
Australian Direct
Investment in Thailand provides less labour-intensive project than
other foreign investment projects, except the investment in
agricultural products and service sectors. According to Department
of Commercial Registration, some of Australian firms stimulated
income in Thailand in forms of salary 27.7% rent 35.8% interest 3.7%
and profit before tax 32.8%. In addition, this investment has a
positive association with the Thai trade deficit to Australia.
Australian Direct
Investment in Thailand in manufacturing and agricultural product
sectors lead both to an increase in domestic resources and materials
use and to an increase in market competition. Australian Direct
Investment in Thailand in financial and properties sectors may not
lead much to an increase in domestic resource use but may lead to an
increase in market competition. Australian Direct Investment in
Thailand in service sector may provide less technology transfer than
the investment in manufacturing sector.
|