ปีงบประมาณ
2537
การวิจัยเรื่อง
ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-จีนและญี่ปุ่น
(Economics
Relationship between Thailand China and Japan)
ชื่อผู้ทำวิจัย
นายสุทิน
สายสงวน
จำนวนหน้า
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
ประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น
หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อเดือนสิงหาคม
2534
เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การปรับตัวทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้
ญี่ปุ่นและจีนเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและทางการทหารตามลำดับ
จำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศเพื่อถ่วงดุลกันและกัน
แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับมหาอำนาจทั้งสอง
แต่มีศักยภาพอันเนื่องมาจากภูมิรัฐศาสตร์และเป็นแกนนำสำคัญของความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน
ดังนั้นโอกาสนี้จึงเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมสำหรับไทย
จีน และญี่ปุ่นในการเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น
การศึกษาความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสามจะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายได้
ชัดเจนขึ้น
สำหรับใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาและอาจเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้วย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางการค้าและลงทุน ในอดีตและปัจจุบัน
เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตต่อสถานภาพ
ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จีนและญี่ปุ่น
และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
เพื่อศึกษาทิศทางและวิธีการปรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนและญี่ปุ่นในการถ่วงดุลอำนาจและผลประโยชน์ของตนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
และ
เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและวิธีการปรับตัวของไทยผ่านความร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่น
ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ
การวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาอาจสรุปได้ดังนี้
1.ความสัมพันธ์ทางการค้าและลงทุน
ในอดีตและปัจจุบัน
ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย
เมื่อปี
2540
ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-จีนมีมานานนับพันปีอาจมีบางช่วงชะงักมักเป็นผลมาจากอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศ
แต่ก็สร้างความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
อาทิ ปี
2490
ไทยกับจีนคณะชาติได้ลงนามสนธิสัญญาทางไมตรีและแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการฑูตและกงสุลซึ่งกันและกัน
สองปีต่อมาเปิดความสัมพันธ์ทางการค้าไทยจีน
แต่ถัดมาเพียงปีเดียวเมื่อเกิดสงครามเกาหลี
ไทยก็งดทำการค้ากับจีนเพื่อเอาใจสหรัฐอเมริกา
เป็นต้น
ส่วนด้านการลงทุนนั้น
ภายหลังจีนเปิดประเทศและได้ต้อนรับนักลงทุนต่างประเทศ
ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจต่างประเทสจำนวนนมากรวมทั้งนักธุรกิจไทย
เมื่อปี
2533
ผลการสำรวจอัตราความเสี่ยงของการลงทุนระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย
10
ประเทศ
ระบุว่า จีน มีอัตราเสี่ยงสูงสุด ไทยเป็นอันดับสี่
ขณะที่ญี่ปุ่นมีอัตราเสี่ยงต่ำสุด
แต่เงินทุนต่างประเทศก็ไหลเข้าประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-ญี่ปุ่นเกิดขึ้นมาช้านาน
ชะงักไปช่วงญี่ปุ่นปิดประเทศ
ช่วงที่ไทยงดทำการค้ากับจีนในช่วงสงครามเย็นทำให้นักธุรกิจไทยส่วนหนึ่งต้องหันไปทำการค้ากับญี่ปุ่นแทน
ในที่สุด ญี่ปุ่นกลายเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย
มีมูลค่าการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยที่ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาตลอด
ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้ลงทุนในไทย เพิ่มมากขึ้น
เนื่องมาจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เงินเยนแข็งค่าขึ้น
และปัญหาค่าจ้างแรงงานในประเทศญี่ปุ่นสูงขึ้น
บรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งได้ย้ายฐานการผลิตสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ
ค่าจ้างแรงงานราคาถูก ขยายการตลาด
และเพื่อต้องการลดการต่อต้านจากประชาชนในท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการเกรงกลัวว่าจะถูกครอบงำทางเศรษฐกิจ
ทว่าตั้งแต่ช่วงทศวรรษ
1990
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นตกต่ำและซบเซาต่อเนื่องยาวนาน
หลังวิกฤต
การค้าไทย-จีนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
เศรษฐกิจของจีนขยายตัวในอัตราที่เร็วมาก
มีการนำเข้าสินค้ากลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สำหรับหลายๆประเทศรวมทั้งไทย
ต่อมาที่ประชุมสภาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ครั้งที่
7
ปี
2544
กำหนดให้มณฑลยูนานเป็นหน้าต่างภาคตะวันตกของจีน
เปิดสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้
ปี
2546
การส่งออกของไทยไปยังจีนมูลค่ากว่า
236
พันล้านบาท และมูลค่านำเข้าจากจีน
251
พันล้านบาท
ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสองกว่า
487
พันล้านบาท ทำให้จีนมีความสำคัญกับไทยอย่างมาก
นำไปสู่การทำความตกลงเขตค้าเสรีไทย-จีน
ขณะเดียวกัน การลงทุน จีนกลายเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงต่างประเทศ
เนื่องมาจากเป็นตลาดขนาดใหญ่
มีความต้องการสินค้าและบริการหลายประเภทหลากหลาย
สำหรับการค้าการลงทุนระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
บางกระแสชี้ว่าญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือไทยและภูมิภาค
แต่มีบางแนวคิดระบุว่าญี่ปุ่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ซ้ำเติมวิกฤติด้วยการถอนเงินออกจากภูมิภาค
และการที่ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือภายหลังก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในภูมิภาคเท่านั้น
ยังพบอีกว่า
การลงทุนของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นหลายสาขาได้ย้ายฐานการผลิตหรือเคลื่อนย้ายทิศทางเงินลงทุนจากภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มุ่งสู่จีนซึ่งมีบรรยากาศลงทุนดีกว่าและมีตลาดภายในขนาดใหญ่ที่ต้องการสินค้าและบริการหลายประเภทหลากหลาย
2.
ผลกระทบของการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต
ต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จีนและญี่ปุ่น
และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
โดยภาพรวมชี้ว่า
การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนำไปสู่การเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของสหรัฐอเมริกาในเวทีโลก
ได้ส่งเสริมอิทธิพลของสหรัฐอเมริกามากขึ้นทั่วทุกมุมโลก
อาทิ
สหรัฐได้ดึงไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปอยู่ในแผนการต่อต้านการก่อการร้ายโดยมีวาระซ่อนเร้น
คือ
การแสวงหาแหล่งพลังงานสำรองในเอเชียกลางโดยบรรษัทข้ามชาติอเมริกันที่มีนักการเมืองในรัฐบาลอเมริกันหนุนหลัง
ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาในทุกทางนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองก็ต้องถูกกดดันให้จำเป็นต้องร่วมมือ
ส่วนที่จีนได้รับความกดดันจากสหรัฐอเมริกาในกรณีไต้หวัน
กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และการกีดกันการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก เป็นต้น
ยิ่งกว่านั้น ญี่ปุ่น
(มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ)
และ สหรัฐอเมริกา
(มหาอำนาจทางการทหาร)
ได้ร่วมกันกดดันจีนต่างๆนานาอย่างมีอคติ ด้วยเกรงว่า
หากเปิดโอกาสให้จีนก้าวสู่เวทีโลก
ก็จะเป็นการส่งเสริมให้จีนสะสมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและอาจเสริมสร้างอิทธิพลทางการทหารมีศักยภาพที่อาจกลายเป็นชาติมหาอำนาจคุกคามกลุ่มมหาอำนาจเดิมที่ครอบงำโลกหรืออาจเกิดการคานอำนาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
นั่นคือ
ความเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของสหรัฐอเมริกาหลังจากการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตได้ครอบงำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ข้ามชาติ
3.ทิศทางและวิธีการปรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนและญี่ปุ่นในการถ่วงดุลอำนาจและผลประโยชน์ของตนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
หลังจากเปิดประเทศ
จีนได้เปิดความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
จีนมีจุดยืนที่มั่นคงโดยแสดงบทบาทเป็นผู้ให้กับมิตรประเทศในภูมิภาค
ดังจะเห็นว่า
วิกฤติเศรษฐกิจเอเชียที่เกิดขึ้นในปี
2540
จีนได้ยืนหยัดไม่ปรับค่าเงินหยวนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่เอื้อให้ชาติต่างๆในเอเชียสามารถฟันฝ่าวิกฤติ
สำหรับท่าทีของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียอาคเนย์พบว่า
ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับอาเซียนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเพื่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
โดยเป็นการให้ความร่วมมือในหลาย ๆ ด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในด้านการเมือง และความมั่นคง อาทิ
กรณีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากัมพูชา
ระยะหลังยังได้แสดงท่าทีที่แข็งขันในการเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค
หรือ การประชุมเอเชียยุโรป
การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน
+
ที่มีขึ้นโดยการริเริ่มของอาเซียน
ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการให้การสนับสนุนและความร่วมมือของญี่ปุ่นต่ออาเซียน
เป็นต้น
อนึ่ง
ผลพวงของการฟันฝ่าปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียที่เกิดขึ้นในปี
2540
นำไปสู่ การหารือของผู้นำประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออก
เพื่อสร้าง
ประชาคมเอเชียตะวันออก
เป็นเวทีความร่วมมือร่วมใจเพื่อการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ทั้งนี้ การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน
+ 3
มีความสำคัญทั้งด้านการทูตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-อาเซียน
จีน-อาเซียน
ทั้งญี่ปุ่นและจีนมีความกระตือรือร้นในการให้ความร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์ให้เอเชียมีสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง
และทวีการพึ่งพากันและกันทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาเซียน
+ 3
คาดกันว่าจะเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนกับจีนและญี่ปุ่นอย่างราบรื่นโดยผ่าน
Track 2 (ภาควิชาการ
หรือ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเอเชียตะวันอก-
NEAT)
และ
Track3 (ภาคเอกชน
สื่อมวลชน หรือ ภาคประชาชน)
ทั้งเวทีพหุภาคีและทวิภาคี
4.
ทิศทางและวิธีการปรับตัวของไทยผ่านความร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่น
พบว่า
ชนชั้นนำของไทยพยายามใช้ความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมและอ้างอิงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของสองชนชาติเพื่อ
กระชับความสัมพันธ์ไทยจีนผ่านภาคเอกชนและสถาบันหลักของประเทศ
ทั้งเพื่อผลทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างสมดุลกับชาติมหาอำนาจในเวทีโลก
ความร่วมมือไทย-จีนที่เป็นรูปธรรม
อาทิ
การเปิดเสรีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีนเมื่อปี
2546
คาดกันว่าจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจของไทยได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองโดยที่ภาครัฐให้การสนับสนุนในเรื่องเงินทุน
เพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีของสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งการบริการ
และการลงทุน
ขณะที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่นถือเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติ
โดย ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าและผู้ลงทุนที่สำคัญของไทย
โดยไทยขาดดุลทางการค้ากับญี่ปุ่นมูลค่ามหาศาลอย่างต่อเนื่อง
บางครั้งนำไปสู่ความตึงเครียดแต่
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกันเยียวยาหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าไทยอยู่ในฐานะของผู้เสียเปรียบในความสัมพันธ์นี้แต่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและเงินลงทุนจากญี่ปุ่น
อาจเป็นไปได้ว่า ไทยอาจใช้กรอบความสัมพันธ์ อาเซียน
+ 3
เสริมสร้างความร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่นทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคีโดยผ่านช่องทาง
Track 2
และ
Track 3
|