English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ปีงบประมาณ 2537

 

ชื่อโครงการวิจัย           การศึกษาเปรียบเทียบระบบโครงสร้างภาษาไทยและภาษาจีน

ผู้วิจัย                              นางสาวยุพิน  คล้ายมนต์

จำนวนหน้า                      54  หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

             ในการศึกษาเปรียบเทียบระบบโครงสร้างภาษาไทยและภาษาจีนครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาระบบโครงสร้างทั้งเรื่องเสียง (phonological system) คำ (morphological system) และไวยากรณ์ (syntactic structure) แล้วนำระบบโครงสร้างทั้งสองภาษามาเปรียบเทียบ เพื่อทำนายลักษณะของปัญหาและข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการแทรกแซงทางภาษา ทั้งของคนไทยที่เรียนภาษาจีนและคนจีนที่เรียนภาษาไทย

             ผลการศึกษาเปรียบเทียบโดยภาพรวมแล้ว โครงสร้างพื้นฐานของทั้งสองภาษาค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้

1.      ภาษาไทยและภาษาจีนเป็นภาษาคำโดด คำแต่ละคำนำไปใช้โดยอิสระไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์

2.      การเรียงลำดับคำในประโยคคล้ายกัน ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน

3.      ภาษาไทยและภาษาจีนไม่มีคำนำหน้านาม (article)

4.      คำในภาษาไทยและภาษาจีนโดยมากมีพยางค์เดียว และมีวิธีสร้างคำแบบคำประสมเหมือนกัน

5.      ภาษาไทยและภาษาจีนมีคำลักษณะนาม และคำลักษณะนามนี้ตามหลังจำนวนหรือตัวเลขเหมือนกัน

6.      คำภาษาจีนคำเดียว อาจมีความหลายความหมายได้ ซึ่งคล้ายกับคำในภาษาไทย

7.      ภาษาจีนมีการซ้ำคำเช่นเดียวกับภาษาไทย

8.      ภาษาไทยและภาษาจีนมีเสียงวรรณยุกต์ และคำที่มีระดับเสียงสูงต่ำต่าง จะมีความหมายที่ต่างกันด้วย

               สำหรับความแตกต่างในระดับโครงสร้างพื้นฐานนั้นพบน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากศึกษาในระดับลุ่มลึกก็จะพบความแตกต่าง จึงเสนอให้มีการวิจัยในระดับลุ่มลึกเพื่อเจาะลึกเป็นเรื่องๆ ต่อไป ผลการศึกษาเปรียบเทียบของงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า สาเหตุข้อผิดของผู้เรียน คือ ข้อผิดที่เกิดจากความแตกต่างของโครงสร้างภาษาโดยเฉพาะในระดับของเสียง (phonological system) ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากงานวิจัยครั้งนี้

            

Abstract

 In the comparative study of Thai and Chinese language, the description of Thai and Chinese language system were explained as follows; phonological system, morphological system, and syntactic structure.  Then, the comparison and contrastive of the two languages were done to predict the problems and errors from language interference.  Thai students may confront in learning Chinese language as well as Chinese students may confront in learning Thai language.

             However, the results of the study revealed 8 types of the similarity of the two languages

1.      Thai and Chinese language are isolated words.  There are no changes within their form, and tense.

2.      The word order in Thai and Chinese language are alike.

3.      There are no article in Thai and Chinese language.

4.      Most Thai and Chinese language are monosyllable language and the way of combination words together are alike.

5.      The type of classification occurs in Thai and Chinese language.

6.      One  word in Thai and Chinese language may have many meaning.

7.      The repetition in words occur in Thai and Chinese language.

8.      In Thai and Chinese language have tones.  The different tone in words give the different meaning.

On the other hand, the types of differences in basic structure of the two languages are normally found but there will be found the differences in advanced study of these two languages.  More specific study is recommended.

             The results of this study only shows the problems of the students that caused by the differences in phonological system level and they are clearly clarified in the study.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th