English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ปีงบประมาณ 2537

 

ชื่อโครงการวิจัย           บทบาททางเศรษฐกิจเกาหลีในอาเซียน

ผู้วิจัย                             รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์  มีโภคี

จำนวนหน้า                     64  หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเกาหลีใต้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำการศึกษาถึงพัฒนาการและลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความเป็นมาและลักษณะทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ตลอดจนความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้าและการลงทุนทั้งภายในกลุ่มกับประเทศนอกกลุ่ม และความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน และความสัมพันธ์ภายใต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว

            ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านการเมืองนั้นมีการพัฒนาไปอย่างจำกัด ขณะที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทั้งในเกาหลีใต้และกลุ่มประเทศ       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้ามีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ความสัมพันธ์ทางด้านการลงทุน พบว่า การลงทุนโดยตรงของเกาหลีใต้ในภูมิภาคอาเซียนในการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ปี 2530 แต่เมื่อเทียบกับการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นในอาเซียนแล้วยังมีขนาดเล็กมาก

            แต่ภายใต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งเกาหลีใต้และประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านปัญหาสถาบันการเงิน การผลิตที่ลดลง การส่งออกที่หยุดชะงักและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเกาหลีใต้และอาเซียน ตลอดจนก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย ในการวิจัยครั้งนี้จึงได้มีการนำเสนอข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไว้ดังนี้ คือ

(1)   การลดลงในมูลค่าการค้าของทั้งสองฝ่าย มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัญหาทางด้านการเงิน การแก้ไขปัญหาสภาพคล่องดังกล่าวอาจทำได้โดยการใช้นโยบาย Countertrade เพื่อให้เกิดการค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายโดยไม่ต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐ

(2)   จำเป็นต้องมีการแก้ไขนโยบายการกีดกันการนำเข้าของเกาหลีใต้ทั้งการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร และวัตถุดิบ และการยกเลิกมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ และมาตรการคุ้มครองเกษตรกรภายในประเทศ รวมถึงโครงการช่วยเหลือประเทศอาเซียนในการพัฒนาสินค้าที่จะส่งไปขายในตลาดเกาหลีใต้

(3)   เพิ่มบทบาทองค์กรของรัฐและเอกชนของเกาหลีใต้ในประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในทุกด้าน รวมถึงทางด้านวิชาการและวัฒนธรรม

 

 Abstract

 

            The purpose of the study is to investigate the economic relationships between South Korea and ASEAN.  The background on South Korean and ASEAN member countries economy are presented.  Then the study shows the development of the Association of Southeast Asian Nation (ASEAN).  The study also presents the development processes of the relationships, both on politics and economics, of these two partners.  Finally the changes in these relations due to the current economic crisis are under consideration.

            The research findings are: while the Korean political role in this region is limited still, the economic role has increased rapidly, due to the success in economic development of both sides.  The amount of trade has been increased and the value of foreign direct investment from South Korea to this region has been increasing as well since 1993.  However, compare to the FDI from Japan, the Korean FDI is still small relatively.

            Under the current economic crisis in Asia that is effecting most of Asian countries, South Korea and ASEAN have to face the new challenge.  Because of the declining in production and domestic consumption, amount of trade and investment between two parties has been decreasing dramatically.  Therefore the new adjustments are needed to sustain the development process on economic relations between South Korea and ASEAN.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th