ปีงบประมาณ 2537
ชื่อโครงการวิจัย
บทบาททางเศรษฐกิจจีนในอาเซียน
ผู้ทำวิจัย
ผศ. นิรมล สุธรรมกิจ
จำนวนหน้า
515 หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
จีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรเป็นจำนวนมาก
เมื่อจีนเปิดประเทศโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศและจูงใจให้นักลงทุนต่างชาตและชาวจีนโพ้นทะเลเข้าไปลงทุนในจีนเพิ่มขึ้น
ทำให้จีนมีบทบาททางเศรษฐกิจในระดับโลกมากขึ้น
ส่วนอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีทำเลที่ตั้งใกล้จีน
และมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้ากว่าจีน
ประชากรส่วนหนึ่งของอาเซียนเป็นชาวจีนโพ้นทะเล
ซึ่งมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจในอาเซียน
และเป็นผู้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียน
การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะศึกษาบทบาททางเศรษฐกิจจีนในอาเซียน
(ยกเว้นบรูไน)
โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ
(1) เพื่อศึกษาภาพรวมทางเศรษฐกิจของจีนและอาเซียน
(2)
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียน
(3)
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียน
โดยอาศัยการวิจัยเอกสารและใช้ข้อมูลตั้งแต่ ปี ค.ศ.
1967-1996
ผลการศึกษาที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่
(1)
จีนมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจช้ากว่า มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่า
ขนาดการเปิดประเทศต่ำกว่าอาเซียน
(ยกเว้น เวียดนาม
และพม่า)
และโครงสร้างการผลิตของจีนเน้นภาคเกษตรมากกว่าภาคอุตสาหกรรม
(2)
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน พบว่า
อาเซียนและจีนมิใช่ลูกค้าที่สำคัญซึ่งกันและกัน
เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง
แต่เศรษฐกิจจีนมีบทบาททางการค้าระหว่างประเทศของอาเซียนเพิ่มขึ้น
(อาเซียนมีสัดส่วนการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นตลอดช่วงปี
ค.ศ. 1970-1996)
โดยเฉพาะบทบาทในฐานะเป็นแหล่งนำเข้าของอาเซียน อย่างไรก็ดี
จีนกับอาเซียน มีการแข่งขันทางการค้าในตลาดนำเข้าของญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
(3)
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนด้านการลงทุนโดยตรง พบว่า
มูลค่าการลงทุนโดยตรงของอาเซียนในจีนมีมากกว่าการลงทุนโดยตรงของจีนในอาเซียนประมาณ
56 เท่า
ลักษณะการลงทุนของอาเซียนในจีนและของจีนในอาเซียน
ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนและเป็นการลงทุนในด้านการก่อสร้าง อุตสาหกรรม
และการค้า การลงทุนโดยตรงของอาเซียนในจีนมีความสำคัญต่ออาเซียนมากขึ้น
เนื่องจาก สินค้าที่ผลิตในอาเซียนมีต้นทุนการผลิตแพงขึ้น ดังนั้น
จึงมีการย้ายฐานการผลิตจากอาเซียนไปยังจีน
โดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและใช้เทคโนโลยี
ขั้นกลาง นอกจากนี้
จีนยังต้องการพึ่งพิงการลงทุนโดยตรงจากอาเซียนในด้านผลิตภัณฑ์อาหาร
และการเกษตรเชิงพาณิชย์ ในขณะที่
อาเซียนต้องการพึ่งพิงการลงทุนโดยตรงจากจีนในด้านการก่อสร้างเป็นหลัก
แม้กระนั้นก็ตาม อาเซียนแข่งขันกับจีนในการรับทุนต่างชาติ
โดยเฉพาะการรับทุนโดยตรงจากเอเซียนิกส์
และประเทศสมาชิกอาเซียนโดยประเทศเจ้าของทุนเหล่านี้หันไปลงทุนในจีนเพิ่มขึ้น
(4)
การค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียนมีโอกาสขยายตัวออกไปอีก
เนื่องจากการประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และวิชาการระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีอาณาเขตติดต่อกับจีน
และระหว่างจีนกับอาค์กรอาเซียน
(5)
อุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่
จีนเข้มงวดด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้ากับเงินตราต่างประเทศ
ตลอดจนกฎระเบียบของจีนด้านกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
และการขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบ และระบบสาธารณูปโภค นอกจากนี้
อาเซียนมีการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ค่อนข้างน้อย
และอาเซียนมีโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกอาเซียนด้วยกันอยู่แล้ว
(6)
ปัญหาของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียน ได้แก่
อาเซียนมีแนวโน้มขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้น
การลงทุนโดยตรงของอาเซียนในจีนมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีค่อนข้างน้อย
เมื่อเทียบกับการลงทุนของญี่ปุ่นและเอเซียนิกส์
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนมีข้อจำกัด
และความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอาเซียนเชื้อสายจีนกับชาวอาเซียนพื้นเมือง
ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย คือ
การส่งเสริมความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างจีนกับสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ
(ด้านการค้า
การลงทุน และความช่วยเหลือทางเทคนิค
เพราะจีนมิได้มีอาณาเขตติดต่อกับทุกประเทศสมาชิกอาเซียน
การแบ่งงานกันทำระหว่างสมาชิกอาเซียนยังไม่ชัดเจน
และระดับการพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนไม่เท่าเทียมกัน
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ควรศึกษาบทบาทของจีนต่อสมาชิกอาเซียนในแต่ละประเทศให้เจาะลึกมากขึ้น
ควรศึกษาพฤติกรรมการลงทุนโดยตรงของบริษัทข้ามชาติ
สัญชาติสมาชิกอาเซียนในจีน
ควรศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ของบริษัทข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น
(หรือสหรัฐอเมริกา
หรือสหภาพยุโรป) ในอาเซียนกับจีน
และควรศึกษาระดับความเข้มข้นของความสัมพันธ์ด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างจีนกับสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
China is a big country which has a
large population size. Affer opening to the international trade and
inducing foreign and oversea-chinese investors, China plays more
economic role in the world. ASEAN locates near China and has higher
development. A portion of ASEAN population is oversea-chineses who
have important roles in ASEANs economy and link both Chinese and
ASEANs economies. This research aims to study the Chinese economic
role in ASEAN (except Brunei) with 3 objectives : to review Chinese
and ASEANs economies, to study the trade and investment
relationships between China and ASEAN, and to analyze problems and
obstacles of those relationships. The data analyzing is presented
in forms of schedules and figures with description.
There are 6 main findings from
this study :
(1)
Chinese economy has less
developed, lower per capita income and smaller degree of openness
than ASEANs (except Vietnam and Myanmar). In China, agricultural
sector plays more role than industrial sector.
(2)
In China-ASEAN trade : both are
not the main partners to each other, comparing with other partners
as US, Japan and Hong Kong. But Chinese economy has a higher role in
ASEANs trade (Chinas market share in ASEANs trade increased
during 1970-1996), especially in the role of importation source of
ASEAN. However, China and ASEAN are competing in exporting to Japan,
US and EU.
(3)
In China-ASEAN investment :
ASEANs direct investment in China has 56 times (in value) higher
than Chinese direct investment in ASEAN. The characteristics of
those investments are mainly joint ventures and concentrating in
construction, industrial and commercial sectors. The ASEANs direct
investment in China plays an important role to ASEAN, due to the
higher cost of production in ASEAN which induced relocationg of
labour-intensive and middle-technology-intensive industries from
ASEAN to China. In addition. China demands the direct investment
from ASEAN in food products and commercial agriculture sectors,
while ASEAN demands the direct investment from China mainly in
construction sector. Nevertheless, ASEAN and China are competing as
the recipients of foreign direct investment, especially from Asian
NICs and ASEAN members. Those countries tend to invest more in
China.
(4) The trade and investm4ent
relationships between China and ASEAN have more opportunities to
expand, because of the cooperations in economic and technique among
China and ASEAN members whose borders are adjacent to Chinas, and
between China and ASEAN organization.
(5)
The main trade and investment
obstacles between China and ASEAN are : Chinese restrictions on
import & export commodities and foreign currency ; Chinese
restrictions on real estate ownership; scarcity of investment fund,
raw materials and infrastructure system in China ; low development
of both technology and products in ASEAN ; and the existing economic
cooperations among ASEAN members.
(6)
The problems of China-ASEAN
relationships are : ASEAN have more trade deficit with China ;
ASEANs direct investment in China provides lower technological
transfer than Japanese and Asian NICs direct investment ; both have
limited relationship ; and there are racing conflicts between
Chinese-ASEAN people and indigenous ASEAN people.
Policy recommendation is promoting
bilateral relationship between China and each ASEAN member (in
trade, investment and technical aid). There are 3 reasons : not all
ASEAN members are adjacent to China, the division of labour among
ASEAN members is not clear, and the levels of technological
development in ASEAN members are not equal.
The further study should focus on
(1) the role of Chinese economy on each ASEAN member, (2) the
conduct of ASEAN (each member) transnational companies in China,
(3) the comparison of Japanese (or American of European)
transnational companies in ASEAN and in China, and (4) the direct
investment intensity between ASEAN members and China.
|