English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

ปีงบประมาณ 2536

 

ชื่อโครงการวิจัย              เกาหลีใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง        

ผู้ทำวิจัย                        รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์  มีโภคี

จำนวนหน้า                    82 หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ         การเมืองระหว่างเกาหลีใต้กับประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำการศึกษาถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเมืองของทั้งสองฝ่าย พัฒนาการของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างสองภูมิภาคและแนวโน้มของความสัมพันธ์ จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายยังมีอยู่ในวงจำกัด อันเนื่องมาจากทางเกาหลีใต้เองที่มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาภายในคาบสมุทรของตนเองก่อน ซึ่งก็คือ การปรับปรุงความสัมพันธ์ที่เป็นปรปักษ์กันมาอย่างยาวนานให้มีความสัมพันธ์เป็นปกติ จนถึงขั้นการรวมประเทศอย่างสันติวิธี ดังนั้น บทบาททางการเมืองในเวทีโลกหรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีค่อนข้างน้อย

            สำหรับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจนั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของทั้งสองฝ่ายในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา โดยที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจนั้นเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะของการพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน โดยมีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ (1) การพึ่งพากันในด้านทรัพยากร (Complementarity in National Endowment) (2) การพึ่งพากันในด้านโครงสร้างอุตสาหกรรม (Complementarity in Industrial Structure) (3) การที่โลกก้าวไปสู่ยุคของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization) ปัจจัยทั้งสามนี้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการพัฒนาของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อไปในอนาคต

            อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่า ปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเกาหลีใต้ ยังมีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรป เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้ทีหลัง ดังนั้น จึงมีช่องว่างอีกมากที่จะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย แต่การพัฒนาจะเป็นผลได้จำเป็นที่ทั้งสองจะต้องยืนหยัดในนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนที่ตกลงร่วมกันในที่ประชุม APEC การเพิ่มรูปแบบของความสัมพันธ์ในด้านความสัมพันธ์ทางวิชาการและวัฒนธรรมให้มากขึ้น ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์หลายระดับ คือ ระดับทางการ ระดับนักธุรกิจ ระดับองค์กรอิสระ และระดับประชาชนกับประชาชนให้มากขึ้น

 

Abstract

             The purpose of the study is to investigate the prospect of economic and political relations between South Korea and Southeast Asian countries.  For the last two decades, both region have experienced the rapid economic growth as well as the political development toward democratic system.  However, the level of poltical relations is still limited, due to the internal problem in the Korean peninsula itself.  Therefore, the Korean roles in world politics and in Southeast Asia issues are not full developed yet.

            No one would deny that there has been a growing interdependence between Korea and Southeast Asia countries recently in investment as well as trade.  If we look closely at the pattern of trade between the two regions, we will find the fact that there exists a typical complementarity between them which comes form the inherent nature of trade among countries with different endowments and in different stages of industrialization (Complementarity in National Endowments and Complementarity in Industrialization (Complementarity in National Endowments and Complementarity in industrial Structure).

            The growing trade and investment interdependence of the two regions cannot be fully understood unless it is explained in a global perspective.  Both Korea and Southeast Asia heavily depend on the US to market their export goods while depending on Japan to supply capital goods and intermediate goods.  Currently, the US is the leader promoting trade and investment liberalization both in APEC and WTO.  As a result, the liberalization will increase the relation level between two regions in both trade and investment.

            From the Southeast Asian country point of views, South Korea is a small and proportionately expanding market.  Therefore, there is plenty of room to develop the trade and investment relations.  In order to do so, both regions should continue following APEC trade and investment liberalization program and form the new areas of cooperation such as cultural and technological cooperation. 

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th