English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

    ปีงบประมาณ 2535

 

ชื่อโครงการวิจัย              ทัศนคติของนักธุรกิจเกาหลี : การค้าการลงทุนในประเทศไทย

ผู้ทำวิจัย                         รศ.เกศินี  วิฑูรชาติ   นางภาณี  รูปสม และนายสุทิน  สายสงวน

ปีที่แล้วเสร็จ                    2535         จำนวนหน้า        35     หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

                        การวิจัยเรื่องทัศนคติของนักธุรกิจเกาหลีต่อการค้าการลงทุนในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงเหตุผลของการลงทุนในประเทศไทย เพื่อทราบถึงทัศนคติของนักลงทุนเหล่านี้เกี่ยวกับบรรยากาศของการค้าและการลงทุนในประเทศไทย พร้อมทั้งอุปสรรคของการดำเนินงานอปี เอกสารเผยแพร่ บทความในวารสารทางวิชาการ รายงานผลการวิจัย ตำรา ฯลฯ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่โดยหน่วยงานที่เป็นที่มีชื่อเสียงยอมรับในทางวิชาการ ขณะที่การวิจัยเชิงสำรวจได้จัดทำกรอบตัวอย่างซึ่งรวบรวมจากรายชื่อบริษัทธุรกิจในประเทศไทยซึ่งปรากฎในทำเนียบสมาชิกหอการค้าไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2501 อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ทางการค้าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.. 2504 (ดำรง ฐานดี และ วุฒิชัย ดวงรัตน์, 2530) ซึ่งภายหลังความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้ขยายตัวมากขึ้นเมื่อนักธุรกิจเกาหลีใต้เริ่มเดินทางมาลงทุนในประเทศไทยตั้งแต่ พ.. 2527 เป็นต้นมา (สุรชัย ศิริไกร, 2529 :1)

 

                        ก่อนสงครามเกาหลี อาจกล่าวได้ว่าไทยมีความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ไม่มากนัก  ทว่าความรู้ความเข้าใจในด้านสังคมและวัฒนธรรมเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลไทยจัดส่งกำลังทหารภาคพื้นดินเข้าร่วมรบครั้งนี้   กล่าวคือ เมื่อเดือนตุลาคม 2493 ซึ่งทหารไทยเดินทางถึงเกาหลีใต้ และทำการสู้รบอย่างกล้าหาญจนได้รับฉายานามว่า “พยัคฆ์น้อย”  ต่อมาเดือนเมษายน 2494 การสู้รบได้ขยายตัวและมีผู้บาดเจ็บล้มตายเพิ่มมากขึ้น ไทยก็ได้เพิ่มการสนับสนุนโดยส่งเครื่องบินลำเลียง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไปช่วยรบ และส่งคณะแพทย์ไทยไปช่วยสภากาชาดสากลที่รักษาผู้บาดเจ็บจากสงคราม  สืบเนื่องจากบทบาทของไทยในสงครามครั้งนั้นทำให้รัฐบาลและประชาชนเกาหลีใต้ตระหนักในน้ำใจไมตรีของไทยซึ่งส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปด้วยดีตลอดมา (สุรชัย  ศิริไกร, 2529 : 2-6)

 

                        ตลอดระยะเวลาสงครามเย็น โดยเฉพาะทศวรรษ1960s(..2503–2512) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเพราะทั้งสองประเทศเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา จึงมีภัยคุกคามร่วมกัน  และได้มีการแลกเปลี่ยนการพบปะเจรจาระหว่างผู้นำการเมืองและทหารอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการสู้รบและความขัดแย้งในสงครามกัมพูชานาน 13 ปี (ธันวาคม 2521- พฤษภาคม 2534) รัฐบาลเกาหลีใต้จึงเสนอให้ความช่วยเหลือแก่ไทยทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารเพื่อเป็นการต่างตอบแทน

 

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเกาหลีใต้กับไทย

 

                        สุรชัย  ศิริไกร (2529 : 2-6) แสดงทัศนะว่า แม้ความสัมพันธ์อันดีทางการเมืองและการทหารระหว่างเกาหลีใต้กับไทยจะดำเนินต่อเนื่องยาวนานก็ตาม แต่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองมากเท่าที่ควร   กล่าวคือ  นับแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.. 2493 รัฐบาลไทยได้มีมติตกลงจัดส่งทหารกำลังทหารภาคพื้นดินหนึ่งกองพลไปช่วยเกาหลีใต้ซึ่งเดินทางถึงเกาหลีใต้ในเดือนตุลาคม 2493 แต่นานเกือบทศวรรษทั้งสองประเทศจึงได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันในวันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2501  โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศก็เริ่มอย่างเป็นทางการโดยมีข้อตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.. 2504  กระนั้นก็ดี  เกือบสองทศวรรษถัดมาจึงได้สถาปนาหอการค้าไทย-เกาหลีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.. 2520  โดยการรวมกลุ่มกันของนักธุรกิจและนักการค้าเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าการลงทุนและทางเศรษฐกิจ   ต่อมา พ.. 2527 เริ่มมีนักธุรกิจเกาหลีใต้มาลงทุนในประเทศไทย หลังจากความขัดแย้งในกัมพูชายุติและสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีระหว่างประเทศทั้งสองขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระดับพหุภาคีระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ได้ขยายตัวขึ้นในรูปแบบของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการรักษาสันติภาพทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งทั้งสองประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศเอเชียแปซิฟิค(“Asia Pacific Economic Cooperation” : APEC) ในปี พ.. 2532

 

                        ปัจจุบัน เกาหลีใต้เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญประเทศหนึ่งของไทย จะเห็นได้ว่า เมื่อปี พ.. 2528 ปริมาณการค้าระหว่างประเทศทั้งสองประมาณ 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาปี พ..             2536 เพิ่มเป็น 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ  หรือ 6 หมื่นกว่าล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.9 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของประเทศไทย โดยที่ไทยนำเข้าสินค้าหลายชนิดจากเกาหลีใต้ เช่น เครื่องจักร เหล็ก เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลกทรอนิกส์ รถยนต์ ขณะที่ไทยส่งสินค้าออกไปยังเกาหลี ได้แก่ น้ำตาลทราย แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา มันสำปะหลัง ชิ้นส่วนมิเตอร์ ตลับลูกปืน ข้าว โดยเฉพาะในช่วงปี พ.. 2533-2536 ปริมาณการค้าการลงทุนเพิ่มมากกว่าสองเท่า  อนึ่ง สินค้าจากเกาหลีใต้ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทยคือ โสมเกาหลี แต่มีราคาสูงและไม่เป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ลูกค้าส่วนใหญ่ที่บริโภคโสมเกาหลีจึงจำกัดอยู่ในหมู่นักธุรกิจหรือผู้มีรายได้สูงเท่านั้น   ขณะที่สินค้าอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ “Hyundai”   เพิ่งเป็นที่รู้จักทั้งจากการโฆษณาจากสื่อสารมวลชนต่างๆ และการวางขายตามร้านค้า-ตัวแทนจำหน่าย-และห้างสรรพสินค้า  อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคชาวไทยยังขาดความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าของเกาหลีใต้เพราะคนไทยคุ้นเคยกับสินค้าของญี่ปุ่นทั้งด้านราคา คุณภาพ รูปแบบของสินค้าและการบริการหลังการขาย(เกศินี  วิฑูรชาติ และ ภาณี  รูปสม, 2540 : 46) เกาหลีใต้ได้เปรียบดุลการค้ากับประเทศไทยมาก กล่าวคือ ประเทศไทยขาดดลการค้ากับเกาหลีต่อเนื่องกันมามากกว่า 10 ปี  เพียงปี พ.. 2536 ไทยขาดดุลการค้าให้กับประเทศเกาหลีถึง 37,632 ล้านบาท  โดยเฉพาะปลายทศวรรษ 2533 (ทศวรรษ 1990) เมื่อมีการนำเข้ารถยนต์ชนิดต่างๆ จากเกาหลีใต้เข้ามาแข่งขันกับรถยนต์ญี่ปุ่นในตลาดไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้าแก่เกาหลีใต้มากยิ่งขึ้นควบคู่กันไปด้วย (สุรชัย  ศิริไกร, 2529 : 1)

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th