English

Map

Link

Service

Web Board

E-Mail

Change Password

   

 


 

 

   
 

บทคัดย่อโครงการวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา

(งบประมาณแผ่นดิน)

 

ปีงบประมาณ 2534

 

ชื่อโครงการวิจัย              บทบาทของญี่ปุ่นต่อโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก        

ผู้ทำวิจัย                         วิเชียร  อินทะสี   

จำนวนหน้า                     90 หน้า

 

บทคัดย่อภาษาไทย

 

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของภาครัฐบาลญี่ปุ่น ในด้านการให้ความช่วยเหลือต่อโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก และศึกษาถึงบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่น ในโครงการพัฒนาดังกล่าวด้วย

            การพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ถือเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่เกิดจากการบูรณาการเป้าหมายระหว่างความพยายามที่จะกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาค เพื่อคลี่คลายสภาพความแออัดของกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียง กับความพยายามที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบเป็นตัวจุดประกาย และยังคาดหวังว่าผลการพัฒนานี้จะบังเกิดผลดีต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหลังด้วย ในระยะเริ่มต้นได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาไว้ 2 บริเวณคือ บริเวณแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กำหนดให้เป็นแหล่งที่ตั้งท่าเรือน้ำลึก อุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม และบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งกำหนดให้เป็นแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมหลัก ที่ใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติในการผลิต แต่เนื่องจากประเทศมีข้อจำกัดทางด้านทุน ทรัพยากรบุคคลและเทคโนโลยี รวมทั้งไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เช่นนี้มาก่อน จึงทำให้รัฐบาลไทยต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลญี่ปุ่น และเชิญชวนให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าว

            ผลจากการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1.     ภาครัฐบาลญี่ปุ่น ได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในรูปของความร่วมมือทางวิชาการ โดยผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า (JICA) เพื่อการจัดทำแผนแม่บทและการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ในแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก กับการให้ความช่วยเหลือในรูปของเงินกู้ โดยผ่านองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคโพ้นทะเลหรือโออีซีเอฟ (OECF) ซึ่งมีสัดส่วนของเงินกู้สูงถึงร้อยละ 60 ของเงินลงทุนทั้งหมด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ของโครงการ

2.      ภาคเอกชนญี่ปุ่น ในระยะแรกของโครงการภาคเอกชนญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในฐานะบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา และเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เมื่อโครงสร้างขั้นพื้นฐานของโครงการได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้มีสถิติแสดงให้เห็นว่า ภาคเอกชนญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเพิ่มขึ้น ดังสถิติในช่วงปี 2537-2539 เฉพาะในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยมีมูลค่ารวมกันมากกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นทั้งหมด จึงกล่าวได้ว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ได้กลายเป็นฐานการลงทุนอีกแห่งของญี่ปุ่นในประเทศไทย

สำหรับพื้นที่เป้าหมายบริเวณแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี สาขาที่ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนประกอบการมากได้แก่ สาขาผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องกล และรถยนต์ และสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ ส่วนพื้นที่เป้าหมายบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้แก่ สาขาเคมี กระดาษ และพลาสติก

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The purpose of this research was to study the Japanese role, both public and private sector, in the Eastern Seaboard Development Programme.

            The Eastern Seaboard is located in the southeast of Bangkok, a subregion of Thailand that consists of Chachoengsao, Chonburi and Rayong.  Thai Government recognizer the importance of the Eastern Seaboard and has formulated three highest priorities to which the development should contribute.  They are decentralizing growth away from Bangkok and its outskirts, laying the foundations for industrialization by introducing heavy industries based on natural gas, and dispersing growth of this area in order to improve the living standard of the underprivileged, particularly in the Northeast.  In the first stage of development, two areas are targeted : Laem Chabang, lying to the south of Chonburi, will be the main focus for small-medium scale and pollution-free industries served by its own deep-sea port; Map Ta Phut, on the west of Rayong, will be the centre for the gas-related and heavy industrial complex.  The programme involes the government in providing infrastructures and public utilities and getting heavy industries off the ground first, which will further stimulate other downstream industries.  That it is the first integrated industrial development programme which requires more funds to invest has led Thai government to ask Japan for economic assistance for the programme.

            The results of the research were as follows.  Firstly, the Japanese government has played an important role to provide assistance through its two agencies.  Japan International Cooperation Agency (JICA) has provided more ten packages of such technical assistance master plan study, feasibility studies for the different projects under the programme.  The Overseas Economic Cooperation Fund of Japan (OECF) has financed more twenty projects under the programme, which approximately was 60 per cent of the investment required.  Secondly, Japanese private sector played as contractors and consulting firms in some projects under the programme.  When the construction has been completed, a number of Japanese investment projects, approved by the Board of Investment of Thailand, increased rapidly in the Eastern Seaboard. During 1994-1996, Chachoengsao, Chonburi and Rayong accounted for more than 60 per cent of the total value of Japanese – approved projects.  The major industrial activities are metal products, machinery, automotive, electrical and electronics in Laem Chabang Area, and petrochemical in Map Ta Phut Area.  It can even be said that these industries centres have become other Japanese-based investment areas besides Bangkok and its outskirts.

 

 

                                 

 

หน่วยบริการวิจัย  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th