ปีงบประมาณ
2530
ชื่อโครงการวิจัย
ระบบกฎหมายของเกาหลี
ชื่อผู้ทำวิจัย
รศ.สุธีร์
ศุภนิตย์
จำนวนหน้า
52
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องระบบกฎหมายเกาหลี
เป็นการวิจัยเอกสารเพื่อศึกษาถึงระบบกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
(เกาหลีใต้)
ว่ามีวิวัฒนาการความเป็นมาเป็นอย่างไร
ระบบกฎหมายที่เป็นอยู่มีลักษณะเป็นประการใด
ผลจากการศึกษาพบว่าระบบกฎหมายของเกาหลีตั้งแต่อดีตเป็นต้นมานั้น
ได้รับเอากฎหมายจากภายนอกมาบังคับใช้ในสังคมของตน
อาจกล่าวได้ว่าที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องด้วยอิทธิพลทางการเมืองทั้งสิ้น
ทั้งนี้เป็นเพราะที่ตั้งของประเทศซึ่งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี
ล้อมรอบไปด้วยประเทศมหาอำนาจ
ที่ต้องการแผ่อิทธิพลเข้ามาครอบงำไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน
ญี่ปุ่น และรัสเซีย
สภาพแห่งการที่ต้องรับเอากฎหมายจากภายนอกนั้น
เป็นไปทั้งด้วยการยอมรับเอามาด้วยความเต็มใจ
และโดยการถูกบีบบังคับจากผู้เข้ายึดครองประเทศ
เริ่มต้นด้วยการรับเอากฎหมายจีนมาบังคับใช้เป็นอันดับแรก
จีนได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศเกาหลีเป็นเวลานานนับได้เป็นศตวรรษ
มีการยอมรับเอาลัทธิขงจื้อด้วย ผลปรากฎว่าลัทธิดังกล่าวได้เข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเกาหลีแทบทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม การเมือง
การปกครองและกฎหมาย
ประเทศต่อมาเข้ามามีอิทธิพลและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบกฎหมายของเกาหลีเป็นอย่างมาก
คือ ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งได้เข้ามาแทรกแซงในประเทศเกาหลีเพื่อต้องการลดอิทธิพลของจีนในเกาหลี
โดยการทำตัวเป็นผู้คุ้มครองเกาหลี
หลังจากที่ตนได้ทำสงครามรบชนะรัสเซีย
ญี่ปุ่นได้พยายามผลักดันให้ระบบกฎหมายของประเทศเกาหลีเป็นแบบตะวันตก
โดยอ้างว่าจะทำให้ประเทศเกาหลีทันสมัย
เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
นอกเหนือไปจากนั้น
ได้มีการพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นแบบตะวันตกด้วย
มีการประกาศยกเลิกห้ามไม่ให้ใช้ประเพณีที่ยึดกันมากันเป็นเวลานานในหลายๆ
เรื่อง
จนทำให้เกิดการขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรงจนเกิดการจลาจนขึ้น
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองประเทศเกาหลีโดยสมบูรณ์ในปี
ค.ศ.
1910
ญี่ปุ่นได้นำเอากฎหมายของตนมาบังคับใช้ในเกาหลีโดยตรง
หลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อมีการแยกเกาหลีออกเป็นสองประเทศแล้ว
ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้
ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายใหม่
เพื่อการบังคับใช้ในประเทศ ปรากฎว่าได้ยอมรับเอาหลักกฎหมายตะวันตก
และกฎหมายแองโกลอเมริกันโดยชัดแจ้ง
ระบบกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีในปัจจุบัน
ถือได้ว่าเป็นระบบกฎหมาย civil
law
ที่ได้จัดทำกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของประมวลกฎหมายต่างๆ
(codification)
อันเป็นการรวบรวมกฎหมายในเรื่องเดียวกันเข้าไว้ด้วยกัน
มีการจัดทำเป็นหมวดหมู่
และมีระบบการบังคับใช้ที่อ้างอิงกันได้
นับว่าเป็นระบบกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้สะดวก
ประชาชนสามารถทราบได้ว่ากฎหมายเป็นอย่างไร
เพราะได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์โดยชัดแจ้ง
รู้ได้ว่ามีสิทธิและหน้าที่เป็นประการใดและจะดำเนินการอย่างใด
จึงจะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ได้มีการจัดระบบศาลให้ทันสมัย
เพื่อสามารถอำนวยความเที่ยงธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้น
ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและมีบทบาทที่สำคัญในการแปลความปรับทำกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม
จากการศึกษาได้พบเรื่องที่สำคัญที่สมควรจะได้ศึกษาติดตามต่อไป
คือ
ระบบกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมอันแท้จริงของเกาหลีหรือไม่
ประชาชนให้การยอมรับในระบบกฎหมายนี้เพียงใดและยอมรับว่าจะให้การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของตนได้หรือไม่
ทั้งนี้เพราะโดยพื้นฐานของสังคมเกาหล่ไม่ได้ยอมรับสถานะของกฎหมายว่าเป็นเครื่องมือในการพิทักษ์สิทธิมาก่อน
หากแต่เป็นเครื่องมือของผู้ปกครองที่บีบบังคับเอากับตน
กฎหมายเป็นเรื่องของการลงโทษ
เป็นเรื่องของความเจ็บปวด
จึงเกิดการไม่ยอมรับและพยายามหลีกเลี่ยง
ทัศนะเช่นนี้มีมากแต่ดั้งเดิมและฝังลึกในสังคมเกาหลี
โดยเหตุนี้
เป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่จะทำให้สังคมเกาหลียอมรับและเข้าใจถึงประโยชน์อันจะพึงได้จากกฎหมายตามแนวทางของระบบกฎหมายใหม่นี้คงจะต้องใช้เวลานาน |