ปีงบประมาณ
2530
ชื่อโครงการวิจัย
ภาษาญี่ปุ่นกับความต้องการของสังคมไทยในปัจจุบัน
ชื่อผู้ทำวิจัย
รศ.วรินทร
วูวงศ์
จำนวน
94
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจความต้องการใช้ภาษาญี่ปุ่น
ในภาคเอกชนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดหลักสูตร
ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการดังกล่าว
ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้จาก คำตอบแบบสอบถามของผู้รับผิดชอบหน่วยงานทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น พนักงานจากหน่วยงานต่างๆ และผู้รับผิดชอบการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นจากสถาบันต่างๆ รวมทั้งจากประกาศรับสมัครงานในหนังสือพิมพ์รายวัน
ผลการวิจัยได้พบว่า
ภาษาญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในวงธุรกิจไทย
กล่าวได้ว่า
ความต้องการภาษาญี่ปุ่นนั้นอยู่ในอันดับสองรองจากภาษาอังกฤษ
แต่ในสภาพปัจจุบันผู้ที่รู้ภาษาญี่ปุ่นมีปริมาณน้อย
ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาในการใช้ภาษาญี่ปุ่น
ในอีกด้านหนึ่ง
สถาบันที่รับผิดชอบ
การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น
ส่วนใหญ่จะมีปัญหาร่วมคือ
ขาดบุคลากรทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น
ซึ่งในปัจจุบันมีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องคุณภาพของบุคลากรด้วย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
เป็นการวิจัยประเภทหนึ่ง
นอกเหนือไปจากการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ใหม่ หรือการวิจัยประยุกต์
เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมบ้านเมืองที่
เรารู้จักกันดี
การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนมุ่งที่จะปรับปรุงคุณภาพการสอนของผู้สอน
และกระบวนการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
จึงเป็นการวิจัยในเรื่องที่ใกล้ตัวซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยโดยตรง
ความรอบรู้เชี่ยวชาญในวิชานั้น
จริงอยู่เป็นเครื่องชี้ขาดที่สำคัญของคุณภาพการสอน
แต่ถ้าความรอบรู้เชี่ยวชาญนั้นไม่สามารถสื่อสารกับผู้เรียน
และขาดความชัดเจนในเรื่องต่างๆ
ของกระบวนการเรียนการสอนแล้ว
ประโยชน์ต่อนักศึกษาก็อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ในปัจจุบันการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนนี้ได้รับการส่งเสริมจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
เพื่อแข่งขันกันด้าน "ความเป็นเลิศทางวิชาการ"
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีวิชากี่ยวกับญี่ปุ่นเปิดสอนอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขณะนี้หลายวิชาบางวิชาก็กล่าวถึงญี่ปุ่นประเทศเดียวอย่างชัดแจ้ง
บางวิชาก็กล่าวถึงญี่ปุ่นรวมๆ
ไป
ในวิชาที่ควบคุมกว้างออกไป เช่น
เอเชียตะวันออก หรือเอเชีย
ขณะเดียวกันในระยะ 1-2
ทศวรรษที่ผ่านมา
ญี่ปุ่นเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันมากในหมู่นักวิชาการและประชาชนทั่วไป
ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์
การพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง การบริหาร
ระบบสื่อมวลชน
ชีวิตด้านวรรณกรรม ภาพยนตร์ และอื่นๆ
อีกทั้งนักศึกษาก็มีความสนใจอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่นมากไม่น้อยกว่าเรื่องของโลกตะวันตก
ภายใต้สภาพดังกล่าว
โครงการวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาเกี่ยวกับญี่ปุ่นจึงก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
โดยครอบคลุมวิชาต่างๆ 9
วิชา คือ ภาษาญี่ปุ่น
วรรณคดีญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น
การเมืองการปกครองญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่น สื่อสารมวลชนญี่ปุ่น
การบริหารญี่ปุ่น และสังคมญี่ปุ่น
ผู้ทำวิจัยได้แก่
อาจารย์ผู้สอนวิชาอยู่ในขณะนั้น
รวม 9
ท่านตามลำดับ คือ
อาจารย์ผกาทิพย์ สกุลครู อาทร
ฟุ้งธรรมสาร
พรรณี ฉั
ตรพลรักษ์
ลิขิต ธีรเวคิน ประเสริฐ จิตติวัฒนพงศ์
อนงศ์ โรจน์วณิชย์ อรทัย
ศรีสันติสุข
ไว จามรมาน
และยุพา
คลังสุวรรณ
ในระหว่างดำเนินการศึกษาวิจัย
อาจารย์ผกาทิพย์ สกุลครู
เดินทางไปต่างประเทศ
จึงเหลืออาจารย์ผู้ร่วมโครงการ
8
ท่าน
คณะผู้ร่วมโครงการได้พิจารณาถึงรูปแบบการนำเสนอปัญหา
และในที่สุดได้กำหนดรูปแบบร่วมกว้างๆ
ดังนี้ คือ จะพิจารณาประเด็นต่างๆ รวม
7 ประเด็น
ได้แก่ วัตถุประสงค์ของวิชา
หัวข้อบรรยาย ตำรา
หนังสือหรือบทความอ่านประกอบ
วิธีการสอน การประเมินผลและปัญหาอื่นๆ
โดยจะเริ่มด้วยคำขึ้นต้น
ซึ่งจะกล่าวถึงสภาพภูมิหลัง
และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิชานั้นๆ
ผู้ทำวิจัยแต่ละคนจะพิจารณาเสนอข้อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ
ทั้ง 7
เหล่านี้
ในแง่ของสภาพที่เป็นอยู่ เหตุผลรองรับ
ข้อวิจารณ์หรือข้อสังเกต
และข้อแนะนำเสนอแนะ
เท่าที่แต่ละประเด็นจะเอื้ออำนวย
ในกระบวนการศึกษาวิจัย
คณะผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
ข้อติชม
และซักถามระหว่างกัน โดยมี
workshop รวม
10 ครั้ง
การที่มีรูปแบบการวิจัยร่วมกัน
ช่วยให้การตั้งคำถาม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในระหว่าง
workshop ทั้ง
10 ครั้ง
เป็นไปได้ง่ายและเป็นประโยชน์
ในครั้งสุดท้ายได้เชิญอาจารย์ผู้สอนวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ
มาให้ข้อคิดเห็น
รวมทั้งกล่าวถึงกรณีการเรียนการสอนที่ตนดูแลอยู่ในสถาบันของตนเป็นการแลกเปลี่ยนประวบการณ์
กล่าวได้ว่าผู้ทำวิจัยได้ประโยชน์จาก
workshop
เหล่านี้เป็นอย่างมาก
นำไปสู่การปรับปรุงข้อเขียนของตน
การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน
เป็นการวิจัยเพื่อการทำหน้าที่ในฐานะ
"ครู"
ของผู้สอน
และหน้าที่ในฐานะแหล่ง "ผลิตบัณฑิต"
ของมหาวิทยาลัยโดยตรง
แม้จะมีข้อทักท้วงว่า
ความรอบรู้เชี่ยวชาญหรือ "รู้จริง"
ในวิชานั้นๆ
ต่างหากที่ควรจะมาก่อน
การวิจัยด้านนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์แต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้ามจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างจะขาดเสียมิได้ และโครงการวิจัยที่พยายามรวมกลุ่มวิชา
ซึ่งในกรณีนี้รวมกลุ่มในลักษณะประเทศยิ่งกว่าสาขาวิชา
ย่อมมีประโยชน์ในการมองปัญหาเดียวกัน
จากแต่ละแง่มุมและจากแต่ละประสบการณ์ การซักถาม ติชม และปะทะสังสรรค์ระหว่างกัน ในช่วง workshop
รวม 10
ครั้ง
เป็นประสบการณ์ที่ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน
นำไปสู่การปรับปรุงการทำหน้าที่
"ครู"
ของตนให้ถึงซึ่งความพร้อม
อย่างไรก็ตาม
การวิจัยที่ดึงคนเข้ามาร่วมมาก
ความคิดเห็นก็หลากหลายมากมาย
มติร่วมจะบรรลุได้ก็โดยลำบาก
ยิ่งเมื่อธรรมชาติของแต่ละวิชาแตกต่างกันไปตามสาขาชำนัญและลักษณะของวิชา
การประสานรูปแบบการนำเสนอจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
แต่จากที่ปรากฎในเอกสารศึกษาวิจัยทั้งหมด
น่าจะถือได้ว่าบรรลุความสำเร็จในระดับหนึ่ง
โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่านี่เป็นโครงการวิจัยกลุ่มวิชา
ในลักษณะ Interdisciplinary
ที่นำนักวิชาการที่ชำนัญเฉพาะในสาขาวิชาต่างๆ
กันเกือบ 10
สาขาวิชา
มาพิจารณาปัญหาเดียวกันร่วมกัน เป็นครั้งแรก
และเมื่อมีคำถามว่าวิชาเกี่ยวกับญี่ปุ่นสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สอนกันอย่างใด
เอกสารวิจัยนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ
Abstract
This research aims at
surveying demands of the Japanese
language in the private sector in
tems of both quantity and quality
so that proper Japanese language
curricula can be designed to meet
the demands.
The data used in the
research were obtained from the
questionnaires sent to Thai and
Japanese managers, and staff
,mambers in private companies, as
well as Japanese language
instructors in various universities
and schools, In addition, the
data are also base on the
recruitment advertisements that have
appeared in daily newspapers.
Base on the research
results, it has been found out that
the Japanese language has played a
significant role in the Thai
business. The demand of the
Japanese language is only second
to English. However, there are
currently not enough people who
know Japanese to meet the
demand. There are still a
difficulties and problems in the use
of the Japanese language.
On the other hand,
the institutes which offer
Japanese language courses share a
common problem of lacking both Thai
and Japanese instructors. Moreover,
their qualifications are
unsatisfactory as well. |