English

Site Map

Link

Service

Web board

E-Mail

Change Password


 โครงการสัมมนา

 เรื่อง "บทบาทที่คาดหวังต่อฝ่ายญี่ปุ่น  และความร่วมมือระหว่างนักวิชาการในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

 กับการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย"

 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549

 จัดโดย โครงการญี่ปุ่นศึกษา  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

 ร่วมกับ  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 สนับสนุนโดย มูลนิธิญี่ปุ่น

 ศุกร์ที่  17  กุมภาพันธ์ 2549   ณ  ห้องไพลิน  ชั้น  P โรงแรมบุษราคัม   จ.ขอนแก่น

 

   

 ความสำคัญของปัญหา

       ประวัติศาสตร์การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของญี่ปุ่น (ODA) ต่อประเทศไทยมีความเป็นมาเกือบ 50 ปี  นับตั้งแต่ภายหลังที่ญี่ปุ่นได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1952  ญี่ปุ่นได้เริ่มให้ ODA ต่อประเทศไทยในรูปของค่ากึ่งปฏิกรรมสงคราม    ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ถึงปลายทศวรรษที่ 1980 การให้ความช่วยเหลือของญี่ปุ่นมีทั้งในรูปของเงินให้เปล่าและเงินกู้ และมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและผลประโยชน์ของญี่ปุ่นในประเทศไทย จากข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประการที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศผู้รับและในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เป้าหมายการให้ ODA ของญี่ปุ่นในประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990   

     กฎบัตร ODA ปี 1992 (ODA Charter 1992)  ได้ถูกนำมาพิจารณาเป้าหมายและทิศทางการให้ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญไปในแง่มุมที่มิใช่ทางเศรษฐกิจ (non-economic aspects) เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม (environmental protection) การส่งเสริมด้านการศึกษา (promotion of education ) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) เป็นต้น  การให้ ODA ของญี่ปุ่นต่อประเทศไทยได้มุ่งเป้าตามทิศทาง   ดังกล่าว โดยญี่ปุ่นได้ให้ ODA แก่ไทยในด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นทั้งในแง่ของจำนวนโครงการและปริมาณเงินช่วยเหลือ  แม้ว่ากฎบัตร ดังกล่าวได้มีการปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ. 2003  แต่เป้าหมายหลัก และทิศทางการให้ ODA ของญี่ปุ่นต่อประเทศกำลังพัฒนายังมุ่ง    ไปยังด้านที่มิใช่ทางเศรษฐกิจ

   ในส่วนของรายละเอียดการให้ ODA ของญี่ปุ่นในด้านการศึกษา  หากสังเกตจากตารางที่แนบมาด้วยนี้จะพบว่า จุดประสงค์ของ ODA ของญี่ปุ่นในด้านการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มุ่งไปที่การขยายการศึกษาทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ ในขณะที่การศึกษาด้านญี่ปุ่นศึกษายังไม่ได้รับความสนใจมากนัก  แม้ว่าบางโครงการจะดำเนินการไปแล้ว แต่จำนวนโครงการยังค่อนข้างน้อย  สถานการณ์ดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นอย่างมากในโครงการประเภทที่ประเทศผู้รับร้องขอ  (request based) และส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝ่ายความไม่ใจใส่ (no-intention) จากฝ่ายญี่ปุ่น  ในขณะเดียวกันอาจเกิดข้อโต้แย้งได้ว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการให้ความช่วยเหลือของญี่ปุ่น คือ กองทุนญี่ปุ่น (Japan Foundation) ได้ดำเนินการอย่างจริงจังแล้วด้วยเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม มีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทยหลายท่าน คือ  ดร. กิตติ ประเสริฐสุข    คุณทรายแก้ว ทิพากร   และ คุณ นิภาพร รัชตพัฒนกุล งานศึกษาของทั้ง  3 ท่าน ได้แสดงให้เห็นว่า  ญี่ปุ่นศึกษาใน ประเทศไทยยังไม่ได้มีการส่งเสริมมากนักยกเว้นเรื่องภาษา และปัญหาต่างๆยังคงปรากฎอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การมุ่งความสนใจในบางมหาวิทยาลัยเท่านั้น ผู้รู้เรื่องญี่ปุ่นน้อย และไม่มีเครือข่ายด้านญี่ปุ่นศึกษา

      ดังนั้น คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย ยังไม่เป็นที่นิยมและยังไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งๆที่ปริมาณ ODA ของญี่ปุ่นต่อประเทศไทยในด้านการศึกษานั้นมีปริมาณมากและมีมาเป็นระยะเวลานาน   กองทุนญี่ปุ่นก็ดำเนินการอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง  มาโดยตลอด  คำตอบคือ อาจเป็นเพราะขาดการเชื่อมโยงระหว่าง ODA ของญี่ปุ่นและการส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย หรือมิฉะนั้นอาจเป็นเพราะวิธีการส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทยยังไม่เหมาะสมอย่างเพียงพอ และเกิดคำถามขึ้นอีกว่า ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นควรจะได้รับการส่งเสริมเป็นอันดับแรกหรือไม่  ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและบทบาทของญี่ปุ่นทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ความเข้าใจที่มากขึ้นในหลายๆด้านหลายแง่มุมของญี่ปุ่นนอกเหนือจากภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นในสังคมไทยจึงมีความต้องการเพิ่มขึ้น  ดังนั้น การส่งเสริมการเรียนการสอนญี่ปุ่นศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมีความน่าสนใจและมีความสำคัญ มากขึ้นหากมีการศึกษาว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์จาก ODA ของญี่ปุ่นในการที่จะส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาให้  แพร่หลายในประเทศไทยยิ่งขึ้น

 

 วัตถุประสงค์

 1. เพื่อให้มีเวทีสำหรับการถกเถียงและระดมสมองเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ ODA ของญี่ปุ่น และญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย

 2. เพื่อให้เกิดโอกาสสำหรับนักวิชาการด้านญี่ปุ่นศึกษาที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมสร้างเครือข่ายในอนาคตร่วมกัน

 3. เพื่อสร้างสมาคมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย

 

   

    กำหนดการสัมมนา

  08.30 – 09.00 น.  ลงทะเบียน

  09.00 – 09.10 น.  กล่าวรายงาน                         

                โดย      - ศ. ยุพา  คลังสุวรรณ์

                            ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา

                            มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  09.10 – 09.20 น.  กล่าวต้อนรับ

                  ดย    - รศ. ดร.กุลธิดา ท้วมสุข

                            รองอธิการบดีฝ่าบวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

                            มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 09.20 – 09.30 น.  กล่าวเปิด                     

                 โดย      - Mr.Takashi  Sudo, Director General 

                                        The Japan Foundation, Bangkok        

  09.30 – 10.00 น.   ปาฐกถานำ

                 โดย      - Mr.Takero Mori, First Secretary

                                        Japan Information Service,The Embassy of Japan

 

  10.15 – 12.45 น.   อภิปราย เรื่อง "บทบาทที่คาดหวังต่อฝ่ายญี่ปุ่น 

                             และความร่วมมือระหว่างนักวิชาการในส่วนกลาง    

                             และส่วนภูมิภาค กับการสร้างความเข้มแข็งให้กับ  

                             เครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย"       

                โดย       - พันเอก หญิง นงลักษณ์  ลิ้มศิริ

                             กองวิชาประวัติศาสตร์ 

                             โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

                             - รศ. ดร. ฉันทนา  จันทร์บรรจง

                             คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร

                             - ผศ. ดร.วรวุฒิ   จิราสมบัติ

                              คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                             - ผศ. ดร.วรเวศม์  สุวรรณระดา 

                             คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                             - คุณทรายแก้ว ทิพากร

                              ถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                             - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์

                              คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                             -  ผ.ศ. ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์                                    คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                             - ผศ. เบญจางค์   ใจใส

                              คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                             -  อาจารย์นิศากร  ทองนอก

                              คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 ดำเนินรายการโดย   - ผศ. ดร.นิรมล  สุธรรมกิจ

                             คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                            - ผศ. ทัศนีย์  เมธาพิสิฐ

                             คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 12.45 – 14.00 น.    อาหารกลางวัน

 

 14.00 – 17.30  น.   หารือเรื่องการสร้างเครือข่าย / สมาคมญี่ปุ่นศึกษา

                            ในประเทศไทย

                        *  ข้อมูลเรื่องประสบการณ์ของการสร้างสมาคมญี่ปุ่น

                             ศึกษาในต่างประเทศ

                            - รศ. ดร. เสาวลักษณ์ สุริยะวงศ์ไพศาล

                             คณะอักษรศษสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                        *   หารือเรื่องการสร้างเครือข่าย / สมาคมญี่ปุ่นศึกษา

                             ในประเทศไทย

                 โดย     - รศ. ดร.ไชยวัฒน์  ค้ำชู

                             คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                            - รศ. ปราณี  จงสุจริตธรร

                             คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                            - ผศ. ดร.ศิริพร  วัชชวัลคุ

                             คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 17.30 น.               ปิดการสัมมนา

 

มายเหตุ เวลา 10.00-10.15 น.ละ 15.30-15.45 พักรับประทานอาหารว่าง

 

More information ,please contact: Japanese  Studies Program Institute of East Asian Studies Thammasat University Rangsit Campus Pathumthani 12121,Thailand

Tel.0-2564-5000-3   Fax.0-2564-4777 

e-mail: ieas@asia.tu.ac.th , ieas@tu.ac.th  http://www.asia.tu.ac.th