ความสำคัญของปัญหา
ประวัติศาสตร์การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของญี่ปุ่น
(ODA)
ต่อประเทศไทยมีความเป็นมาเกือบ 50 ปี
นับตั้งแต่ภายหลังที่ญี่ปุ่นได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1952
ญี่ปุ่นได้เริ่มให้ ODA
ต่อประเทศไทยในรูปของค่ากึ่งปฏิกรรมสงคราม
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ถึงปลายทศวรรษที่ 1980
การให้ความช่วยเหลือของญี่ปุ่นมีทั้งในรูปของเงินให้เปล่าและเงินกู้
และมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและผลประโยชน์ของญี่ปุ่นในประเทศไทย
จากข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประการที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศผู้รับและในประเทศญี่ปุ่น
ทำให้เป้าหมายการให้ ODA
ของญี่ปุ่นในประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รวมทั้งประเทศไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990
กฎบัตร
ODA
ปี 1992 (ODA Charter 1992)
ได้ถูกนำมาพิจารณาเป้าหมายและทิศทางการให้ใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญไปในแง่มุมที่มิใช่ทางเศรษฐกิจ
(non-economic aspects) เช่น
การรักษาสิ่งแวดล้อม (environmental protection)
การส่งเสริมด้านการศึกษา
(promotion of education )
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources
Development) เป็นต้น การให้ ODA
ของญี่ปุ่นต่อประเทศไทยได้มุ่งเป้าตามทิศทางดังกล่าว
โดยญี่ปุ่นได้ให้ ODA
แก่ไทยในด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นทั้งในแง่ของจำนวนโครงการและปริมาณเงินช่วยเหลือ
แม้ว่ากฎบัตรดังกล่าวได้มีการปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ. 2003
แต่เป้าหมายหลักและทิศทางการให้ ODA
ของญี่ปุ่นต่อประเทศกำลังพัฒนายังมุ่งไปยังด้านที่มิใช่ทางเศรษฐกิจ
จุดประสงค์ของ ODA
ของญี่ปุ่นในด้านการศึกษาในประเทศไทยนั้น พบว่า
ได้มุ่งไปที่การขยายการศึกษาทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
ในขณะที่การศึกษาด้านญี่ปุ่นศึกษายังไม่ได้รับความสนใจมากนัก
แม้ว่าบางโครงการจะดำเนินการไปแล้ว
แต่จำนวนโครงการยังค่อนข้างน้อย
สถานการณ์ดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นอย่างมากในโครงการประเภทที่ประเทศผู้รับร้องขอ
(request based)
และส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝ่ายความไม่ใจใส่
(no-intention) จากฝ่ายญี่ปุ่น
ในขณะเดียวกันอาจเกิดข้อโต้แย้งได้ว่า
หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการให้ความช่วยเหลือของญี่ปุ่น
คือ กองทุนญี่ปุ่น (Japan Foundation)
ได้ดำเนินการอย่างจริงจังแล้วด้วยเช่นกัน
ดังนั้น คำถามที่น่าสนใจคือ
ทำไมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมและยังไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ
ทั้งๆที่ปริมาณ
ODA
ของญี่ปุ่นต่อประเทศไทยในด้านการศึกษานั้นมีปริมาณมากและมีมาเป็นระยะเวลานาน
กองทุนญี่ปุ่นก็ดำเนินการอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
มาโดยตลอด คำตอบคือ อาจเป็นเพราะขาดการเชื่อมโยงระหว่าง
ODA
ของญี่ปุ่นและการส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย
หรือมิฉะนั้นอาจเป็นเพราะวิธีการส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทยยังไม่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
และเกิดคำถามขึ้นอีกว่า
ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นควรจะได้รับการส่งเสริมเป็นอันดับแรกหรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น
เนื่องจากความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและบทบาทของญี่ปุ่นทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความเข้าใจที่มากขึ้นในหลายๆด้านหลายแง่มุมของญี่ปุ่นนอกเหนือจากภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นในสังคมไทยจึงมีความต้องการเพิ่มขึ้น
ดังนั้น
การส่งเสริมการเรียนการสอนญี่ปุ่นศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะมีความน่าสนใจและมีความสำคัญมากขึ้นหากมีการศึกษาว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์จาก
ODA
ของญี่ปุ่นในการที่จะส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาให้แพร่หลายในประเทศไทยยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้มีเวทีสำหรับการถกเถียงและระดมสมองเกี่ยวกับการให้
ความช่วยเหลือ
ODA
ของญี่ปุ่น และญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย
2.
เพื่อให้เกิดโอกาสสำหรับนักวิชาการด้านญี่ปุ่นศึกษาที่จะร่วม
แสดงความคิดเห็นและร่วมสร้างเครือข่ายในอนาคตร่วมกัน
3.
เพื่อสร้างสมาคมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย
|
กำหนดการสัมมนา
08.30
09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00
09.10 น.
กล่าวรายงาน
โดย
รศ. ยุพา คลังสุวรรณ
ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
09.10 09.20
น. กล่าวต้อนรับ
โดย
รศ.
นายแพทย์ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.20 09.30
น. กล่าวเปิด
โดย
Mr.Takashi Sudo
Director
General
The
Japan
Foundation, Bangkok
09.30 10.20
น. ปาฐกถานำ
โดย
ศ. ดร.ไพศิษฐ์
พิพัฒนกุล
อดีตเลขาธิการรัฐสภา และ เลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร
Dr.Terada Takashi
A
Coordinator of JSA_ASEAN, Singapore
10.15 10.30
น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 12.30
น. อภิปรายเรื่อง ODA
กับสถานะของญี่ปุ่นศึกษาใน
ประเทศไทยทางด้านสังคมศาสตร์
โดย
พันเอก หญิง นงลักษณ์
ลิ้มศิริ
กองวิชาประวัติศาสตร์ ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ผศ. ดร.
วรเวศม์ สุวรรณรดา
คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณทรายแก้ว ทิพากร
สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*ผู้ให้ความเห็นต่อบทความ
โดย
รศ. ดร.ไชยวัฒน์
ค้ำชู
คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง
คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย
ผศ. ดร.นิรมล
สุธรรมกิจ
คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิปรายทั่วไป
12.30
14.00 อาหารกลางวัน
14.00 16.00
อภิปรายเรื่อง ODA
กับสถานะของญี่ปุ่นศึกษาใน
ประเทศ
ไทยด้านภาษา วัฒนธรรม และการศึกษา
โดย
รศ.ดร.
ฉันทนา จันทร์บรรจง
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ. ดร.วรวุฒิ
จิราสมบัติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*ผู้ให้ความเห็นต่อบทความ
โดย
รศ. ปราณี จงสุจริตธรรม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.ดร.ไมตรี
อินทร์ประสิทธิ์
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดำเนินรายการโดย
ผศ.
ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ
คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16.00
16.15 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
16.15 17.30 น.
หารือเรื่องการสร้างเครือข่าย/สมาคมญี่ปุ่นศึกษา
ในประเทศไทย
17.30 น.20.00
น.
หารือและรับประทานอาหารค่ำร่วมกัน
แผนที่เดินทาง
|