Home      Map     Link Sevice News Guestbook Webboard Check Mail

 


 

โครงการเกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

จัดโครงการอบรมครู เรื่อง “เกาหลีศึกษา : สถานะปัจจุบันในพหุมิติของโลกาภิวัตน์”

โดยการสนับสนุนจาก สถานเอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย มูลนิธิเกาหลี และกรมสามัญศึกษา

วันศุกร์ที่ 18 และ วันเสาร์ที่ 19 เดือน กรกฎาคม 2546 ณ อ่าวนางวิลล่า รีสอร์ท จังหวัด กระบี่

สำหรับการจัดอบรมครูครั้งนี้  ได้จัดขึ้นในเขตการศึกษา 2,3และ4  ซึ่งประกอบด้วย 14 จังหวัดของภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต  พังงา  นราธิวาส  นครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานี เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านเกาหลีศึกษาแก่ ครู-อาจารย์ ในสถานศึกษาในระดับมัธยมทั้งภาครัฐและเอกชน  สำหรับใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน  อีดกทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเกาหลีศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น   อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-เกาหลี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

**************************

 

ในปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมโลกเป็นสังคมไร้พรมแดนที่มีทั้งการ ร่วมมือและการแข่งขันกันอย่างกว้างขวาง คนไทยรุ่นใหม่จะต้องมีหน้าที่เป็นทั้งประชากรไทย และประชากรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป บทบาทของเอเชียถูกมองว่าจะมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในโลก ดังนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นของประเทศในการผลิตคนให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีในยุคใหม่นี้ อีกทั้งเพื่อการนำพาประเทศให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในโลกและในภูมิภาคเอเชียได้อย่างสมศักดิ์ศรี

ประเทศแถวหน้าของเอเชียที่ได้รับการกล่าวขวัญมาหลายทศวรรษว่าเป็นอภิมหาอำนาจแห่งเอเชียคือ ประเทศญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมิมีประเทศใดในแถบนี้ลบล้างคำกล่าวดังกล่าว อย่างไรก็ตามเป็นที่จับตามองมานานของทั่วโลกว่าประเทศที่น่าเกรงขามด้านเศรษฐกิจของเอเชียและเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแทนญี่ปุ่นในอนาคตคือ จีน ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกขององค์การค้าโลก (WTO) เรียบร้อยแล้ว

สาธารณรัฐเกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่มีบทบาททางเศรษฐกิจในเอเชียที่ผ่านมา แม้ปัญหาอุปสรรคของประเทศจะนานัปการเพียงใด ไม่ว่าปัญหาจากสงครามเกาหลี หรือล่าสุดปัญหาจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่สาธารณรัฐเกาหลีได้ใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสำเร็จลุล่วงอย่างสง่างามและรวดเร็ว จนเป็นที่สนใจของทั่วโลก สาธารณรัฐเกาหลีและไทย เป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงของไทยที่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมาช้านาน ปัจจุบันความสัมพันธ์ดังกล่าวทวีสูงขึ้น การไปมาหาสู่การติดต่อค้าขายเพิ่มจำนวนสูงขึ้นทุกปี ดังตัวเลขมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2543 มีถึง 138,286 ล้านบาท

จากสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่ระบบการศึกษาต้องเปลี่ยนไปด้วย ระบบการศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ความจำเป็นของผู้สอนต่อการเรียนรู้สถานการณ์รอบโลกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

การเรียนรู้ประเทศเกาหลี เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ผู้สอนจะต้องเรียนรู้ เพื่อทันต่อ สถานการณ์ของโลกและการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวต่อนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน 

************************

หัวข้ออบรม

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2546

10.40-12.00 น. “บทบาทของเกาหลีต่อเวทีโลกในความสัมพันธ์ แบบโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน”

* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิษณุ สุนทรารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.30-14.30 น. การเมืองของเกาหลี:ปัจจุบันและแนวโน้มศตวรรษ 21

* นายสุทิน สายสงวน  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.45-16.00 น. สังคม วัฒนธรรมของเกาหลี : รากฐานของอดีตปัจจุบัน และแนวโน้มศตวรรษ 21

* รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร ประธานโครงการเกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา 

                          และคณบดีคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม 2546

09.00-10.30 น. “การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเกาหลีในปัจจุบัน และแนวโน้มในศตวรรษที่ 21”

* รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ มีโภคี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.45-11.30 น. อภิปรายและซักถาม

 

แจ้งความจำนงเข้าร่วมสัมมนาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: โครงการเกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    ศูนย์รังสิต  อ.คลองหลวง  จ. ปทุมธานี 12121  (ทุกวันในเวลาราชการ)

โทร.0-2564-5000-3 ต่อ 410   โทรสาร.0-2564-4777,0-2564-4888   E-mail: ieas@asia.tu.ac.th  ieas@tu.ac.th http: www.asia.tu.ac.th