ปี
2556
นี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่สุดช่วงหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จากการที่ประเทศหลักในภูมิภาค ล้วนมีการผลัดเปลี่ยนผู้นำในการบริหาร
ประเทศกันอย่างพร้อมเพรียงในเวลาอันใกล้เคียงกัน
เริ่มตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นที่นายชินโซ อาเบะ ผู้นำแนวชาตินิยม
ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
หลังการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเสรีประชาธิปไตย(LDP) เมื่อปลายปีที่แล้ว ในเกาหลีใต้
นางปาร์ก กึน เฮ บุตรีของอดีตประธานาธิบดีจอมเผด็จการปาร์ก จุง ฮี
ได้รับการเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ในขณะที่จีนก็จะมีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากประธานาธิบดีหู
จิ่น เทา มาสู่รองประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ในเดือนมีนาคมนี้ นอกจากนั้น ที่เกาหลีเหนือเอง ก็เพิ่งมีการเปลี่ยนผู้นำเป็นนายคิม
จอง อึน ได้เพียงปีเดียว หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของนายคิม จอง อิล ผู้บิดา และการผลัดเปลี่ยนผู้นำของญี่ปุ่น
ได้มีการคาดการณ์กันว่าเมื่อนายชินโซะ
อาเบะเข้ารับตำแหน่งในครั้งนี้นั้น
จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนเกิดความ
ตรึงเครียดขึ้นมาอีกครั้งเนื่องจากบุคลิกขอนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนปัจจุบันค่อนข้างแข็งกร้าวและไม่ยอมอ่อนข้อให้กับจีนมากนัก
กอปรกับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา
ในการสกัดกั้นอิทธิพลจีนให้อยู่ในวงจำกัด
การเปลี่ยนแปลงผู้นำในเวลาอันใกล้เคียงกันเช่นนี้
นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ยิ่งในเอเชียตะวันออกซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตสูงทั้งทางเศรษฐกิจ
และการเมือง และที่สำคัญเป็นบริเวณที่ยังคงมีประเด็นความขัดแย้งคุกรุ่นอยู่ระหว่างจีน
ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ และเกาหลีเหนือ ทั้งในประเด็นข้อพิพาทดินแดน
ประเด็นประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
การแข่งขันกันเป็นผู้นำในภูมิภาคทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
ยิ่งการที่ญี่ปุ่นได้ผู้นำที่มีหัวชาตินิยม
ทำให้นักสังเกตการณ์เกิดความหวั่นวิตกว่า
สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกจะมีความตึงเครียดมากขึ้น
และอาจส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในส่วนของจีน
การผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ
ย่อมเป็นที่จับตาว่า พญามังกรจะมีทีท่าอย่างไรภายในผู้นำใหม่
ในขณะที่เกาหลีใต้เอง ในยุคผู้นำหญิงคนแรก
ก็เป็นประเทศที่น่าจับตาในฐานะตัวแปรสำคัญในความสัมพันธ์ในภูมิภาค
โดยเฉพาะกับเกาหลีเหนือ
กล่าวโดยรวม การผลัดเปลี่ยนผู้นำของชาติมหาอำนาจในเอเชียตะวันออก
ย่อมส่งผลต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก
และส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
ที่จะเกี่ยวข้องกับไทยและอาเซียนด้วย
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาในฐานะสถาบันวิจัยที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคดังกล่าว
จึงได้จัดการเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้นำในครั้งนี้ขึ้น
เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวโน้มและความเป็นไปในอนาคตที่จะส่งผลถึงสถานการณ์ความมั่นคง
และความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น
โดยประเด็นในการเสวนา จะเน้นความเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ
ความเปลี่ยนแปลงต่อการเมืองเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ตลอดจนผลกระทบต่อไทยและอาเซียน
กำหนดการ 13.00-13.15
น. ลงทะเบียน 13.15-13.30
น. เปิดการเสวนาวิชาการ โดย
- ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข
ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13.30-15.00
น. เรื่อง ผลัดผู้นำญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก
โดย - รศ.ดร. จุลชีพ ชินวรรโณ
กีรติยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร. นภดล ชาติประเสริฐ
คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.ดร. กิตติ
ประเสริฐสุข
คณะรัฐศาสตร์ และสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย
- อ.ดร. พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15.00-15.30
น. อภิปรายซักถาม
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่าง 14.30-14.45น.
แบบตอบรับเข้าร่วมงาน
|