โครงการฝึกอบรม
หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรคลื่นลูกใหม่
โดย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1.
หลักการและเหตุผล
ตามที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
10 (พ.ศ.2550-2554)
นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาแบบบูรณาการที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
และให้ความสำคัญต่อการบูรณาการงานของภาคีจากทุกภาคส่วนในระบบสังคมในการมีส่วนร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ข้อ
1 และ 2 คือ
1)
เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม
จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว
สถาบันศาสนาการศึกษาเสริมสร้างบริการสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการสร้างเสริม
.การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
และ 2)
เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์
ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
อันนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายในการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
โดยให้ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรทฤษฎีใหม่
สร้างโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพการเกษตร
สถาบันเกษตรกรและชุมชน
โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาความยากจน
สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ดังนั้น
กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเกษตรกรและเยาวชนเกษตร
ให้เรียนรู้และดำเนินกิจกรรมการเกษตรด้วยความสมัครใจจากการปฏิบัติจริง
การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องทั้งด้านคุณธรรม
จริยธรรม และการงานพื้นฐานอาชีพด้านเกษตรกรรม
รวมทั้งดำเนินการ
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรคลื่นลูกใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรและเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ให้มีความรู้ความสามารถ
และมีทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจเกษตรในฟาร์ม
และเป็นขุมพลังในการพัฒนาทางการเกษตรของประเทศสืบไป
2.
วัตถุประสงค์การฝึกอบรม
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2.1 สามารถระบุถึงความสำคัญ
ความมั่นใจ ความพึงพอใจ
ความมีศักดิ์ศรีและมีทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพและ
การสืบทอดอาชีพเกษตร
บทบาทของภาคเกษตรต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองของประเทศ
2.
2 สามารถจัดทำแผนธุรกิจเกษตรได้และสามารถอธิบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจเกษตรได้
2.3
มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ใช้ระบบสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต)
ในการสืบค้นข้อมูล
และความรู้ใหม่
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพการเกษตร
3.
เป้าหมาย
3.1 ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย
3.1.1
เกษตรกรและหรือเยาวชนเกษตร จำนวน 1,000 คน
3.1.2
เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด
เขตและส่วนกลางจำนวน 100 คน
4.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.1
เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 1,000
คน
มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพการ
เกษตร
และสามารถนำไปพัฒนาอาชีพของตนเองได้
4.2 เจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 100 คน
มีความรู้ ความเข้าใจ
สามารถเป็นพี่เลี้ยงแก่เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ใน
การพัฒนาอาชีพและเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนได้
5.
กิจกรรมและเนื้อหาสาระการฝึกอบรม
การฝึกอบรมครอบคลุมเนื้อหาตามวัตถุประสงค์และประเด็นหัวข้อวิชาดังต่อไปนี้
1.
การสร้างแรงจูงใจ
จำนวน 22 ชั่วโมง
2.
การบริหารจัดการด้านการตลาดในระบบเศรษฐกิจใหม่
จำนวน 6 ชั่วโมง
3.
การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเกษตรแบบบูรณาการ
จำนวน 6 ชั่วโมง
4. ธุรกิจการเกษตร - ผู้ประกอบการ
SMEs
(การเงินและการลงทุน)
จำนวน 3 ชั่วโมง
5.
การจัดการด้านเทคนิคปฏิบัติการ(การผลิต-บริการและโซ่อุปทาน)
จำนวน 3 ชั่วโมง
6.
ความรู้ทางคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้
จำนวน 8 ชั่วโมง
รวม 48 ชั่วโมง
6.
วิธีการฝึกอบรม
การฝึกอบรมจะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ได้มีโอกาสในการคิด
วิเคราะห์และสรุปผลตลอดจนได้ทดลองปฏิบัติจริงในทุกหัวข้อวิชาโดยการจำลองสถานการณ์การปฏิบัติงานจริงในพื้นที่
หรือการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่เหมาะสม
โดยจัดให้มี
6.1
ให้ผู้เข้าอบรมคิด วิเคราะห์
และสรุปผลการเรียนรู้และกำหนดแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์
6.2
การจัดทำแผนการสอนเพื่อใช้เป็นแนวการสอนของวิทยากร
6.3
การประเมินผลการเรียนรู้และสรุปบทเรียนในทุกวิชา
6.4
เชื่อมโยงเนื้อหาวิชาสู่การปฏิบัติจริง
7.
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
ในการฝึกอบรมกำหนดให้มีการฝึกอบรมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า
10 รุ่น ๆ ละไม่น้อยกว่า 90 คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม รุ่นละ 6
วันและไม่น้อยกว่า 48
ชั่วโมง
โดยดำเนินการจัดการฝึกอบรมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -
เดือนกันยายน 2551
|