English

Map

Link

Service

Web board

E-Mail

Change Password


 

 

โครงการสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับผู้บริหารระดับสูงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลทั่วประเทศ

เรื่อง  “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย”

วันศุกร์ที่   16  ธันวาคม  2548  เวลา 08.30 -17.00 .

ณ ห้องวีนัส โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น  กรุงเทพฯ

จัดโดย  โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา   สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ด้วยทุนสนับสนุนจาก Danish International Development Agency (DANIDA) ประเทศเดนมาร์ก

 

  หลักการและเหตุผล
   ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ซึ่งเกิดจากปัญหาโลกร้อน (Global warming) นับเป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจ  แม้แต่การประชุมสุดยอด ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก หรือการประชุม G-8 ซึ่งจัดขึ้นที่สหราชอาณาจักร ในเดือนกรกฎาคม 2548 ยังได้มีปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหัวข้อหลักในการเจรจา ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติซึ่งแต่ละประเทศจะได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้นในรูปแบบและระดับที่แตกต่างกัน เช่น การเกิดภาวะภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน การแปรปรวนของลมฟ้าอากาศและภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ปัญหาสุขภาพอนามัยโรคระบาด ปัญหาการเหือดแห้งของแหล่งน้ำ ปัญหาน้ำในเขื่อนน้อยลง ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ผลจากสภาพอากาศที่ร้อนแล้งยาวนาน ปัญหาไฟป่าจากความแห้งแล้ง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาเหล่านี้แม้จะมองเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านลมฟ้าอากาศ แต่กลับส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจและสังคม และส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและบริการของประเทศโดยตรง เช่น เกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งย่อมเป็นสัญญาณแห่งการส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ตลอดจนผลกระทบด้านสังคมและสุขภาพอนามัยซึ่งมีโรคภัยใหม่ๆ ต่อมนุษย์หรือสัตว์ระบาดเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศต่อเนื่องกันไป 
      ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้ มีสาเหตุใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในอากาศมากขึ้น เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการคมนาคมขนส่งใช้ยานพาหนะที่เผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล หรือเกิดจากการเน่าบูดทับถมของกองขยะที่ปล่อยก๊าซมีเทน การทำอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยการตัดไม้ทำลายป่า จนทำให้โลกมีแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง เป็นต้น เมื่อก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมาสู่ผิวโลกไม่สามารถสะท้อนขึ้นไปออกนอกโลก แต่กลับถูกขวางกั้นไว้โดยก๊าซเรือนกระจก หรือเรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) ทำให้เกิดการเก็บกักสะสมความร้อนอยู่ที่ผิวโลกมากขึ้นทุกขณะ ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน เนื่องจากโลกสะสมความร้อนที่ผิวโลกมากขึ้น เมื่อโลกร้อนขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกในลักษณะที่แตกต่างกันไป เกิดปัญหาภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกละลายต่อเนื่องในปริมาณมหาศาลต่อวัน ระดับน้ำทะเลของโลกเพิ่มสูงขึ้น ความร้อนทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นเกิดภาวะความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งต่อน้ำทะเล ปะการัง ระบบนิเวศของสัตว์ทะเล สัตว์น้ำชายฝั่ง กระทบกันไปเป็นลูกโซ่  นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดปัญหาฝนแล้งในบางแห่ง ทำให้อากาศร้อนแล้งต่อเนื่องยาวนานขึ้นส่งผลกระทบต่อการเกษตรกรรมและปศุสัตว์ในหลายประเทศทั่วโลก ตลอดจนเกิดภาวะอากาศแปรปรวนรุนแรงมากขึ้น เช่น พายุไต้ฝุ่น ทอร์นาโด ที่มาเร็วกว่าฤดูกาลและรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในหลายประเทศจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงเหล่านี้ จากงานวิจัยของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ได้รายงานถึงปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ประชาคมโลกเกิดความตระหนักในภัยที่มองไม่เห็น อันเป็นภัยร่วมกันของมวลมนุษยชาติที่ต้องร่วมกันต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงก่อให้เกิด “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) ขึ้นในปี 2535 และภายหลังได้เกิดพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ ดังกล่าว  ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ และพิธีสารเกียวโต ตามลำดับ

     ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต มีหน้าที่ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาและพิธีสารดังกล่าว แต่เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยยังขาดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลาง (National Focal Point) ของประเทศไทยตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีแนวนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศ เช่น สถานการณ์ความแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โรคระบาดต่างๆ นั้น ล้วนได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีสาเหตุเชื่อมโยงมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การดำเนินงานอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย         

     โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเห็นความจำเป็นในการจัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้นโดยเชิญผู้บริหารระดับท้องถิ่นได้แก่ผู้บริหารระดับสูงของเทศบาลจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมาเข้าร่วมสัมมนาเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย  รวมทั้ง เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารระดับท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย  อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการ  เสนอแนะนโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

      วัตถุประสงค์

 

1.   เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อประเทศไทย

2.   เพื่อให้ทราบถึงแนวนโยบายหรือมาตรการของประเทศไทยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3.    เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงของท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

4.   เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงของเทศบาลจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในการเสนอปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านต่างๆของท้องถิ่นและเสนอแนวทางและมาตรการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ

                    

                        กำหนดการสัมมนา

 08:30–09:00.  ลงทะเบียน

 09:00–09:15 .  กล่าวรายงาน 

                โดย - ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา 

                         มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 09:15–10.00 .  กล่าวต้อนรับ 

                โดย - ศ.ดร.สุรพล  นิติไกรพจน์

                         อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                  

                      -  นางนิศากร โฆษิตรัตน์

                         เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ

                         และสิ่งแวดล้อม

                       - H.E. Mr.Ulrik Helweg-Larsen

                         เอกอัครราชทูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย 

 10:00–12:15. กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ  “นโยบายด้านการจัด

                         การการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย”              โดย   ฯพณฯ ยงยุทธ  ติยะไพรัช

                         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

                    ถ่ายภาพร่วมกันและแถลงข่าว

                    การอภิปรายหัวข้อ “ประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลง

                         สภาพภูมิอากาศ”

                     -   มุมมองจากภาครัฐ

      โดย   นางนิศากร โฆษิตรัตน์

               เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ

               และสิ่งแวดล้อม

                      มุมมองจากภาคการเมือง

               โดย    นาวาเอก ดร. สมัย ใจอินทร์

                         ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร

                     มุมมองจากภาคสถาบันและองค์กรพัฒนาเอกชน

               โดย    ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์    สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

 ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กำพล  รุจิวิทย์

                         ประธานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา  

                         สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  ม..

 12:15–13:00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

 13:00-15.00 .  การอภิปราย  “ผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ

                        อากาศที่มีต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ”

                   -ด้านเศรษฐกิจและสังคม

     โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิ   หวังวัชรกุล  คณะเศรษฐศาสตร์

              มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

            - ภาคเกษตรกรรม

     โดย   นายสหัสชัย  คงทน  กรมพัฒนาที่ดิน

                      - ด้านทรัพยากรน้ำ

      ศ.ดร.นิพนธ์ ตั้งธรรม   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                      - ปัญหาโรคติดเชื้อ

              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กำพล  รุจิวิทย์

              ประธานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา 

              สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  ม..

  ดำเนินรายการโดย นายกิตติ  สิงหาปัด  ผู้สื่อข่าวอาวุโส ITV

 

 16.00–17.00 .- สัมมนากลุ่มย่อย “ปัญหาและผลกระทบจากเปลี่ยน

                      แปลงสภาพภูมิอากาศระดับท้องถิ่น: ข้อเสนอแนะ

                      แนวทาง/ มาตรการรองรับการแก้ไขปัญหา

                  - ภาคเหนือ

                  - ภาคกลาง/ภาคตะวันออก

                  - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  - ภาคใต้

                      การนำเสนอของกลุ่มย่อย

                      สรุปผลการสัมมนา

                      พิธีปิดการสัมมนา

                โดย เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ

                       และสิ่งแวดล้อม

*(10.30 -10.45 น.และ 15.00 -15.15 . พักรับประทานอาหารว่าง)

 

 

ดาวน์โหลด แบบฟอร์มใบตอบรับ

 

 

ผู้เข้าร่วมสัมมนาและที่พัก

 

  แผนที่โรงแรม  

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่    โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต    อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121 โทร.0-2564-5000-3 ต่อ 405, 222  โทรสาร .0-2564-4777 

E-mail: ieas@tu.ac.th, sitti@tu.ac.th , http: www.asia.tu.ac.th