English

Site Map

Link

Service

Web board

E-Mail

Change Password


 

 

มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลของตัวเองได้  การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะ เดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในเกือบทุกภูมิภาคของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ

- ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและ   

   ที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา

- ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัด           

  ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

    

     สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ

1.  การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน

 

2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิตมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น

 

       ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ

1.    ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ

2.    ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

        ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้สังคมโลกในยุคปัจจุบันกำลังให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลสืบเนื่องจากมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ำ การกำจัดของเสีย ฯลฯ ได้ส่งผลกระทบต่อพลเมืองโลกอย่างมาก เป็นแรงผลักดันให้สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ สังคม  เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองอันเป็นหัวข้อหลักของสถาบันฯ ในการศึกษา วิจัย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของประเทศ เพื่อนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการแก้ไข และ พัฒนาประเทศชาติ ซึ่งประเด็นในเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค  ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเด็นอื่น ซึ่งหากได้ศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในเรื่องของ สังคม  เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองแล้ว ก็อาจนำความรู้ดังกล่าวมาบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมให้ดียิ่งขึ้น

 

 

 โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    ศูนย์รังสิต  อ.คลองหลวง  จ. ปทุมธานี 12121 

 โทร.0-2564-5000-3    โทรสาร.0-2564-4888  E-mail: ieas@asia.tu.ac.th  ieas@tu.ac.th http: www.asia.tu.ac.th